Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การ์ทเนอร์เผยแนวโน้มสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ของปี 2568

กรุงเทพฯประเทศไทย, 24 มกราคม 2568 – การ์ทเนอร์เน้นย้ำถึงแนวโน้มสำคัญหลายประการที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของภาคยานยนต์ในปี 2568 ด้วยเหตุที่อุตสาหกรรมนี้กำลังเผชิญกับแรงกดดันด้านกฎระเบียบการปล่อยมลพิษและการเติบโตที่แข็งแกร่งจากจีน 

เปโดร ปาเชโก รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า ซอฟต์แวร์และการใช้พลังงานไฟฟ้าจะยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักสองประการในการเปลี่ยนแปลงของภาคยานยนต์ อย่างไรก็ตามในปีนี้ผู้ผลิตรถยนต์จะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในเรื่องกฎระเบียบการปล่อยมลพิษและความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้นระหว่างจีนกับชาติตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า 

ภูมิทัศน์ทางการเมืองที่กำลังเปลี่ยนไปทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป (EU) ทำให้ประเด็นเรื่องกฎระเบียบการปล่อยมลพิษของยานยนต์กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง ซึ่งสร้างความไม่แน่นอนให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่งผลให้ผู้รับจ้างผลิตอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนหรือ OEMs บางรายอาจลังเลที่วางกลยุทธ์หลักของธุรกิจไว้ที่รถยนต์ไฟฟ้า

การ์ทเนอร์ประเมินว่ายอดการจัดส่งรถยนต์ไฟฟ้า (ประเภทรถโดยสาร รถยนต์ รถตู้ และรถบรรทุกขนาดใหญ่) จะเติบโต 17% ในปี 2568 และคาดว่าในปี 2573 มากกว่าครึ่งของรถยนต์ทั้งหมดที่วางจำหน่ายและทำตลาดโดยผู้ผลิตนั้นจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า

ภูมิรัฐศาสตร์ทำให้การนำแนวคิด CASE มาปรับใช้ล่าช้า

อุปสรรคทางการค้าที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปกำหนดและบังคับใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าของจีนจะทำให้การนำเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ความเป็นอิสระ ซอฟต์แวร์ และการใช้พลังงานไฟฟ้า หรือที่เรียกรวมกันว่า CASE มาใช้ในทั้งสองภูมิภาคนี้ล่าช้าลง เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าจีนถือเป็นประเภทยานพาหนะที่มีความก้าวหน้าที่สุดในอุตสาหกรรม

บิล เรย์ รองประธานอาวุโสของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า ผู้ผลิตโดรนและบริษัทโทรคมนาคมจีนกำลังรับรู้ถึงผลกระทบจากมาตรการแทรกแซงทางการค้าระหว่างประเทศ และรายต่อไปก็คือผู้ผลิตหุ่นยนต์ การมีซอฟต์แวร์อัจฉริยะที่สามารถอัปเดตได้ กล้องที่เข้าถึงได้จากระยะไกล และการผสานการเก็บข้อมูลเข้ากับโมเดลธุรกิจยานยนต์ ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่จะเป็นตัวแบ่งแยกตลาดและชะลอการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาปรับใช้

ผู้ผลิตรถยนต์จากจีนได้เปรียบการแข่งขันในด้านซอฟต์แวร์และระบบพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากมีแนวทางการพัฒนาที่มีความเฉพาะและมีประสิทธิภาพ ช่วยให้สามารถนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง และราคาไม่แพง อย่างไรก็ตามอุปสรรคทางการค้าที่เพิ่มขึ้นอาจลดทอนข้อได้เปรียบดังกล่าวนี้ และทำให้รถยนต์ไฟฟ้าในตลาดสำหรับผู้บริโภคมีความหลากหลายลดลง

ผู้ผลิตชิ้นส่วน OEM ต่าง ๆ ขยายความร่วมมือด้านซอฟต์แวร์กับผู้ผลิต OEM จากจีน 

ผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบกำลังประสบปัญหาในการพัฒนาความสามารถด้านซอฟต์แวร์ภายในองค์กร ส่งผลให้หลายรายหันมาทำข้อตกลงกับผู้ผลิต OEM จากจีน เพื่อเข้าถึงสถาปัตยกรรมไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ (E/E) ของยานพาหนะ ทำให้พึ่งพาความสามารถด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนมากยิ่งขึ้น

กำลังการผลิตส่วนเกินกระตุ้นให้โรงงาน OEM ปิดตัว

กำลังการผลิตส่วนเกินเป็นความท้าทายสำหรับโรงงานผลิตรถยนต์หลายแห่งในยุโรปและอเมริกาเหนือมานานหลายปี การเพิ่มอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนที่สหรัฐฯ และ EU กำหนดเมื่อเร็ว ๆ นี้มีแนวโน้มที่จะทำให้ปัญหานี้รุนแรงมากขึ้น โดยผู้ผลิตรถยนต์จีนอาจตั้งโรงงานในยุโรปและสหรัฐฯ หรือในประเทศพันธมิตรการค้าเสรี อาทิ โมร็อกโกหรือตุรกี เพื่อรักษาความสามารถด้านราคาให้แข่งขันได้

การ์ทเนอร์คาดว่าสถานการณ์นี้มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การปิดตัวหรือขายโรงงานผลิตรถยนต์หลายแห่งที่มีอัตราการใช้งานต่ำให้กับผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น ๆ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่อง ที่นำไปสู่การปิดตัวโรงงานของซัพพลายเออร์ ประเด็นนี้จะเป็นการกำหนดทำเลการผลิตรถยนต์ของสหรัฐฯ และยุโรปขึ้นใหม่ และทำให้ประเทศที่มีต้นทุนต่ำกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตและเป็นห่วงโซ่อุปทานหลักของอุตสาหกรรมยานยนต์

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

Acer เปิดตัว Nitro Blaze 8 และ 11 พร้อมคอนโทรลเลอร์เกมพกพาแบบใหม่ ดีไซน์พับได้ ชาร์จเร็ว เล่นเกมลื่นไหลไม่สะดุด

ลาสเวกัส (22 มกราคม 2568) เอเซอร์เปิดตัว Nitro Blaze 8 และ 11 เครื่องเล่นเกมพกพารุ่นใหม่ ยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมมือถือด้วยโปรเซสเซอร์ AMD Ryzen™ 7 8840HS, หน่วยความจำ LPDDR5X 16 GB และความจุสูงสุด 2 TB. หน้าจอสัมผัส WQXGA (8.8” และ 10.95”) พร้อมเทคโนโลยี Radeon™ Super Resolution และ AMD FidelityFX™ Super Resolution มอบภาพลื่นไหล แอปฯ Acer Game Space ช่วยจัดการและเข้าถึงเกมได้ง่ายขึ้น.

Nitro Mobile Gaming Controller รุ่นใหม่ ดีไซน์พับเก็บได้ พกพาสะดวก เล่นเกมได้ทุกที่ทุกเวลา รองรับการชาร์จเร็ว 18W เพื่อการเล่นเกมที่ต่อเนื่อง

เครื่องเล่นเกมพกพา Acer Nitro Blaze

Nitro Blaze 8 และ Nitro Blaze 11 ขับเคลื่อนด้วยโปรเซสเซอร์ AMD Ryzen™ 7 8840HS พร้อม AMD Ryzen™ AI ที่ให้พลังประมวลผลด้าน AI สูงสุด 39 TOPS รองรับเกม AAA ได้อย่างลื่นไหล หน้าจอสัมผัส WQXGA (8.8” และ 10.95”) อัตรารีเฟรช 144 Hz และความสว่าง 500 nits การ์ดจอ AMD Radeon™ 780M พร้อมเทคโนโลยี Radeon™ Super Resolution และ AMD FidelityFX Super Resolution ให้ภาพคมชัด ลื่นไหล หน่วยความจำ LPDDR5X 16 GB ความเร็ว 7500 MT/s และพื้นที่จัดเก็บ PCIe Gen 4 NVMe สูงสุด 2 TB ช่วยให้เกมโหลดเร็วและเล่นได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด.

Acer Game Space ช่วยจัดการและเข้าถึงเกมยอดนิยมด้วยปุ่มลัดบนอุปกรณ์ ใช้งานได้หลากหลายทั้งเล่นเกม ท่องเว็บ และทำงาน พร้อมระบบเสียง DTS:X® Ultra Audio และจอยสติ๊ก Hall Effect. Nitro Blaze 11 มาพร้อมคอนโทรลเลอร์ถอดได้พร้อมขาตั้ง และกล้องหน้าสำหรับวิดีโอคอลและสตรีม รองรับ USB 4 (Type-C), USB 3.2, Wi-Fi 6E และ Bluetooth 5.3 แถมฟรี PC Game Pass 3 เดือน ให้เล่นเกมดังๆ อย่าง Call of Duty: Black Ops 6, Indiana Jones and the Great Circle, Ara: History Untold และเกมจาก EA Play

Acer Nitro Mobile Gaming Controller

Nitro Mobile Gaming Controller ดีไซน์พับเก็บได้ พกพาสะดวก ตอบโจทย์ผู้ชื่นชอบการเล่นเกมนอกสถานที่ คอนโทรลเลอร์ plug-and-play ใช้งานได้กับทั้ง Android และ iOS ปรับขนาดได้รองรับหน้าจอสูงสุด 8.3” เชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB Type-C พร้อมยางกันลื่นช่วยยึดอุปกรณ์แน่นหนาแม้ใส่เคส ให้ความรู้สึกสบายมือ รองรับการชาร์จเร็ว 18W มอบอรรถรสการเล่นเกมได้ยาวนาน

ราคาและการวางจำหน่าย

Acer Nitro Blaze 8 (GN782U) วางจำหน่ายในอเมริกาเหนือ และภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA) ในไตรมาส 2 ราคาเริ่มต้นที่ 899 USD. และ 999 EUR.ตามลำดับ

Acer Nitro Blaze 11 (GN7112U) วางจำหน่ายในอเมริกาเหนือ และภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA) ในไตรมาส 2 ราคาเริ่มต้นที่ 1,099 USD. และ 1,199 EUR.

Acer Nitro Mobile Gaming Controller วางจำหน่ายในอเมริกาเหนือในไตรมาส 2 ราคาเริ่มต้นที่ 69.99 USD. ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA) วางจำหน่ายในไตรมาส 1 ราคาเริ่มต้นที่ 89.99 EUR.

ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ราคา และความพร้อมในการจัดจำหน่ายที่แน่นอนจะแตกต่างกันไปตามภูมิภาค หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดจำหน่าย ข้อมูลจำเพาะของผลิตภัณฑ์ และราคาในตลาด โปรดติดต่อสำนักงาน Acer ใกล้คุณผ่านทาง www.acer.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

MCC จับมือ Elastic จัดงาน MCC X Elastic Partner Day 2025 นำเสนอเทคโนโลยีและกลยุทธ์ใหม่ รุกตลาดไทยอย่างยั่งยืน

บริษัท เมโทรคอนเนค จำกัด (MCC) ร่วมกับ บริษัท Elastic N.V. ผู้นำเทคโนโลยีด้าน Search AI จัดงานสัมมนา MCC X Elastic Partner Day 2025” เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2568 ณ โรงแรม Bangkok Marriott Marquis Queen’s Park โดยได้รับเกียรติจาก คุณวรัชญ์ รัตนธรรมมา, Assistant Vice President บริษัท เมโทรคอนเนค จำกัด กล่าวเปิดงานอย่างเป็นทางการ ซึ่งในงานครั้งนี้มุ่งเน้นการนำเสนอเทคโนโลยีล่าสุด และแนวทางการต่อยอดด้านโซลูชั่นไอที เพื่อตอบโจทย์การพัฒนากลยุทธ์ของคู่ค้าและองค์กรในยุคดิจิทัลสร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อผลักดันธุรกิจร่วมกัน

คุณวรัชญ์ รัตนธรรมมา กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของ บริษัท เมโทรคอนเนค จำกัด ในการเป็นผู้นำด้านการจัดจำหน่ายเทคโนโลยีที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร และองค์กรเพื่อเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี รวมถึงการสร้างพันธมิตรทางการตลาดที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะช่วยเร่งการขับเคลื่อนนวัตกรรม และการเติบโตของอุตสาหกรรมไอทีไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำ Elastic ซึ่งเป็นผู้นำด้านโซลูชั่นการค้นหา และการจัดการข้อมูล บุกตลาดไทยเต็มรูปแบบผ่านแพลตฟอร์มการจัดการข้อมูล Search AI Platform ประกอบกับศักยภาพของ บริษัท เมโทรคอนเนค จำกัด ที่พร้อมให้การสนับสนุนบริษัทคู่ค้า และลูกค้าเพื่อนำเทคโนโลยีของ Elastic ใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน

เปิดมุมมองเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจากวิทยากร Elastic

Mr. Ravi Rajendran, Area VP – ASEAN and Greater China Region จาก Elastic ได้บรรยายถึงทิศทาง และเป้าหมายของ Elastic ในการสนับสนุนองค์กรไทยให้พร้อมรับมือยุคที่ข้อมูล และการวิเคราะห์กลายเป็นหัวใจในการตัดสินใจทางธุรกิจ

คุณธงชัย วัฒนโสภณวงศ์Sales Director Indochina จาก Elastic บรรยายในหัวข้อ Accelerate Incremental Business by Solving Your Customer’s Data Challenges” โดยชี้ให้เห็นว่า Elastic เป็นแพลตฟอร์มซึ่งช่วยบริหารจัดการข้อมูลโดยใช้ระบบ AI เป็นหัวใจหลัก มีความสามารถในการจัดเก็บ ค้นหา และคาดการณ์ Incident อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์ความต้องการไม่ว่าจะเป็นระบบ AIOps / Observability, Cybersecurity รวมไปถึงการใช้งานด้าน GenAI/RAG ช่วยเสริมความสามารถขององค์กรในการขยายธุรกิจในหลายมิติ

Mrs. Mindy Kam, Channels & Alliances, Growth Emerging Market จาก Elastic กล่าวถึงกลยุทธ์ Scaling with Partners” ในการขยายธุรกิจและเจาะตลาดใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมสร้างความแข็งแกร่งให้กับคู่ค้า พร้อมสร้างโอกาสทางธุรกิจที่ยั่งยืน

งานสัมมนาครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของทั้ง บริษัท เมโทรคอนเนค จำกัด และ Elastic ในการพัฒนาโซลูชั่นเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อรองรับความต้องการของตลาดไทย และสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนให้กับลูกค้าและคู่ค้าในประเทศ

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของ Elastic สามารถติดต่อฝ่ายการตลาด บริษัท เมโทรคอนเนค จำกัด โทร. 02-0894880 หรืออีเมล mktmcc@metroconnect.co.th หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.metroconnect.co.th ได้ทันที


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ยกระดับดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทันสมัย ไม่ยากอย่างที่คิด! การเลือกฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมคือคีย์สำคัญ

บทความโดย Madhu Rangarajan รองประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์โซลูชั่น บริษัท AMD

ดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรต่าง ๆ ปัจจุบันมาถึงจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญ จากความต้องการด้านการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด การขยายเวิร์คโหลดการประมวลผล จำนวนข้อมูลที่เพิ่มขึ้นและหลากหลายรูปแบบ และงานด้าน AI ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในวันนี้ ในขณะเดียวกัน หัวหน้าฝ่ายไอทีต้องเผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่องเพื่อลดต้นทุน ส่งผลให้หัวหน้าฝ่ายไอทีจำนวนมากต่างเร่งดำเนินการปรับปรุงระบบให้มีความทันสมัยและเปลี่ยนผ่านไปสู่ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่ามากขึ้น

กระบวนการย้ายและปรับเปลี่ยนแพลตฟอร์มเวิร์คโหลดธุรกิจดิจิทัลที่ใช้อยู่เดิมนั้นมีความซับซ้อน ทำให้องค์กรหลายแห่งกังวลถึงการหยุดชะงักทางธุรกิจและตั้งคำถามว่าการลงทุนในระบบใหม่เพื่อสนับสนุนแอปพลิเคชันที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ เนื่องด้วยหากแอปพลิเคชันต่าง ๆ ขาดการพัฒนานานเกินไป อาจทำให้ระบบมีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนผ่านและยากต่อการบูรณาการ แม้แต่การหาบุคลากรเพื่อมาดูแลรักษาก็อาจกลายเป็นปัญหาได้

ดังนั้น สำหรับเวิร์คโหลดขององค์กรในช่วงระหว่างการเปลี่ยนผ่าน ประสิทธิภาพที่มาจากโปรเซสเซอร์ AMD EPYC™ อาจเป็นข้อได้เปรียบในเชิงกลยุทธ์สำหรับหัวหน้าฝ่ายไอทีได้ ดังนี้

เมื่อไหร่ที่เราควรจะยกระดับดาต้าเซ็นเตอร์ให้มีความทันสมัยและอย่างไร?

การดำเนินโครงการปรับปรุงดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทันสมัยเป็นทางเลือกในเชิงกลยุทธ์ สามารถช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ เพิ่มผลิตภาพทางวิศวกรรม และเร่งนวัตกรรมพร้อมยังสามารถลดต้นทุนไปใด้ในเวลาเดียวกัน ในความพยายามทั้งหมดที่กล่าวมา การจัดการแนวทางให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจขององค์กรถือเป็นเรื่องสำคัญ การทำความเข้าใจลักษณะของเวิร์คโหลดและกระบวนการทางธุรกิจจะช่วยสร้างมูลค่า ทักษะจำเป็นของฝ่ายไอทีในการเป็นพันธมิตรที่ได้รับความไว้วางใจคือต้องจัดการด้านเทคโนโลยีให้มีความสอดคล้องมากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ

โดยขั้นแรกของการยกระดับโครงการต่าง ๆ คือการประเมินแพลตฟอร์มที่มีอยู่อย่างรอบคอบ กุญแจสำคัญคือการวัดประสิทธิภาพชุดแอปพลิเคชันที่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จจากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ (POC) เพื่อให้สามารถแสดงผลลัพธ์ในระดับการผลิตได้อย่างที่ต้องการ หัวหน้าฝ่ายไอทีไอทีจำเป็นต้องมั่นใจว่าผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ในระหว่างขั้นตอน POC มีหลายแง่มุม ประการแรก พวกเขาต้องมองหาประสิทธิภาพในการวัดผล – การปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญเป็นสิ่งจำเป็น ถัดมาควรพิจารณาถึงผลประโยชน์ด้านประสิทธิภาพเฉพาะของแอปพลิเคชันควบคู่กับการปรับขนาดและประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ดีขึ้น เพื่อให้สามารถบอกได้ว่าควรเพิ่มกรณีการใช้งานใหม่ ๆ ภายในขอบเขตต้นทุนเดิมหรือไม่

หัวหน้าฝ่ายไอทีต้องประเมินความสามารถของแพลตฟอร์มการประมวลผลสำหรับการสนับสนุนด้านนวัตกรรมในระยะยาว ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการดำเนินธุรกิจ พวกเขาต้องมีความมั่นใจอย่างเป็นเหตุเป็นผลว่าจะมีประสิทธิภาพการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี รวมไปถึงความสามารถในการปรับขนาดที่เพิ่มขึ้นพร้อมด้วยการใช้พลังงานที่ต่ำลง

ความเสี่ยงและความซับซ้อน

อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการทำให้ระบบทันสมัย อาจเป็นความท้าทายสำหรับหัวหน้าฝ่ายไอทีในการอธิบายให้ฝ่ายธุรกิจและผู้บริหารระดับสูงเข้าใจ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากความซับซ้อนในการดำเนินงานและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นข้อกังวลที่สมเหตุสมผลของหัวหน้าฝ่ายไอที แม้ว่าการ “พึงพอใจกับที่เป็นอยู่” จะเป็นกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงต่ำระยะสั้น แต่อาจทำให้องค์กรเปิดรับความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ที่ใหญ่ขึ้นและพลาดโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรม แพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมสามารถสร้างความแตกต่างให้กับความพยายามทั้งหมดนี้ได้

ความพยายามที่จะสร้างแพลตฟอร์มไอทีแห่งอนาคตนั้น การพัฒนาให้ทันสมัยถือเป็นโอกาสในการส่งมอบผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นทวีคูณ การใช้แพลตฟอร์มที่เปิดกว้าง มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลสูงเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ

ปัจจุบัน แรงขับเคลื่อนนวัตกรรมทางเทคโนโลยีแบบเปิดบนแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ x86 – เช่น AMD EPYC™ – สามารถลดความเสี่ยงได้อย่างมีนัยสำคัญไปพร้อมกับการเพิ่มพูนผลตอบแทน การประมวลผลบนโครงสร้างพื้นฐาน x86 ช่วยให้สามารถรองรับหลากหลายของแอปพลิเคชันผ่านการปรับแต่งด้านพลังงาน ประสิทธิภาพ และเวิร์คโหลดเพื่อสนับสนุนองค์กรต่าง ๆ ในอนาคต

ตัวอย่างที่ดีของการเปิดกว้างทางทางเทคโนโลยี คือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันที่ออกแบบสำหรับแพลตฟอร์ม x86 จะถูกส่งมอบในรูปแบบแพ็คเกจเดียวครอบคลุมทุกแพลตฟอร์มที่มีสถาปัตยกรรมเดียวกัน หมายความว่า ธุรกิจสามารถรันซอฟต์แวร์ใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการ แอปพลิเคชัน หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ภายในองค์กร โดยแทบจะหรือไม่ต้องทำการดัดแปลงบนโปรเซสเซอร์ AMD EPYC™ เมื่อมีเปลี่ยนผ่านมาจากแพลตฟอร์ม x86 อื่น ๆ ทำให้หัวหน้าฝ่ายไอทีสามารถพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิผลโดยที่มีปัญหารบกวนน้อยที่สุด ซึ่งใช้ประโยชน์จากความเปิดกว้างของระบบนิเวศเพื่อย้ายไปยังผู้จำหน่ายรายอื่นเมื่อพวกเขาเติบโตเกินกว่าแพลตฟอร์มที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ความยืดหยุ่นนี้สามารถแปลงเป็นข้อได้เปรียบสำคัญทางธุรกิจสำหรับองค์กรต่าง ๆ ได้ เมื่อทำการเปลี่ยนผ่านมาสู่โปรเซสเซอร์ AMD EPYC™ ดังเช่น บริษัท Yahoo! Japan สามารถลดจำนวนแร็คลงได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับผู้จำหน่าย (vendor) ก่อนหน้าเพื่อรันเวอร์ชวลแมชชีนจำนวนเท่าเดิม ในทำนองเดียวกัน Cyllene ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศฝรั่งเศส พบว่าการใช้พลังงานและการปล่อยความร้อนลดลง 30 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ประสิทธิภาพการประมวลผลบนแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนำโปรเซสเซอร์ AMD EPYC™ เข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ

โอกาสในอนาคต

ปัจจุบัน AI ถือเป็นอนาคตสำคัญด้านเทคโนโลยีที่กำลังสดใส ซึ่งมาพร้อมกันกับความต้องการด้านพลังงานที่สูง องค์กรที่มั่นใจว่ามีแพลตฟอร์ม x86 ที่เหมาะสมย่อมหมายความว่าพวกเขามีแพลตฟอร์มเซิร์ฟเวอร์ระดับองค์กรแบบครบวงจรสำหรับเทคโนโลยี AI ที่พร้อมสำหรับอนาคตด้วยเช่นกัน

เวิร์คโหลด AI ส่วนใหญ่มีความต้องการที่เฉพาะเจาะจงทั้งในด้านรูปแบบการใช้งานเชิงประสิทธิภาพ ความปลอดภัย การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านข้อมูล และต้นทุนที่แตกต่างกันตามการใช้งาน แตกต่างจากแอปพลิเคชันดั้งเดิมที่ออกแบบมาเพื่อทำงานบน CPU มาตรฐาน ขึ้นอยู่กับขนาดและความซับซ้อนของโมเดล AI ปริมาณและความเร็วของข้อมูลที่กำลังวิเคราะห์ จำนวนและตำแหน่งของผู้ใช้ และระดับความเข้มข้นในการประมวลผลโดยรวมที่ต้องการ

เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ขุมพลังโปรเซสเซอร์ AMD EPYC™ พร้อมมอบประสิทธิภาพการประมวลผลและประสิทธิผลด้านการใช้พลังงานในระดับชั้นนำ เพื่อช่วยให้สามารถรวมเวิร์คโหลด เพิ่มพื้นที่และพลังงานเพื่อรองรับเวิร์คโหลดใหม่งานด้าน AI ในดาต้าเซ็นเตอร์ปัจจุบันของคุณ

  • สถาปัตยกรรม “Zen 5” ใหม่ที่ขับเคลื่อนขุมพลังการประมวลผลโปรเซสเซอร์ 5th Gen AMD EPYC ช่วยยกระดับด้านประสิทธิภาพการประมวลผลให้ดีขึ้นถึง 17% ในคำสั่งต่อรอบนาฬิกา (IPC) สำหรับเวิร์คโหลดงานด้านองค์กรและระบบคลาวด์ และเพิ่มขึ้นถึง 37% สำหรับงานด้าน AI และการประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC)
  • ด้วยเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์ AMD EPYC 9965 ลูกค้าสามารถคาดหวังถึงผลลัพธ์การประมวลผลที่ยอดเยี่ยมในงานด้านแอปพลิเคชันและเวิร์คโหลดต่าง ๆ ที่ต้องการทรัพยากรการประมวลผลสูงในระดับต้น ๆ ของโลก (real-world) ด้วยเวลาในการประมวลผลข้อมูลที่เร็วถึง 3.9 เท่า ในด้านการรับข้อมูลเชิงลึกบนแอปพลิเคชันด้านวิทยาศาสตร์และ HPC เมื่อเทียบกับเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel Xeon® 8592+ รวมถึงประสิทธิภาพต่อคอร์ที่สูงขึ้นถึง 1.6 เท่าในโครงสร้างพื้นฐานเสมือนจริง
  • ผู้บริหารในตำแหน่ง CIO ยังสามารถพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทันสมัยขึ้นได้ พร้อมกันกับเพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานและพื้นที่ได้อย่างมหาศาล โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์ใหม่จำนวน 131 เครื่องที่ใช้ขุมพลัง 2P 5th Gen EPYC สามารถประมวลผลแทนที่เซิร์ฟเวอร์เก่าจำนวน 1,000 เครื่องที่ใช้เซิร์ฟเวอร์โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon Platinum 8280 ได้ – ซึ่งช่วยประหยัดการใช้พลังงานได้มากถึง 68% ลดจำนวนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ลงถึง 87% และลดต้นทุนรวม (TCO) ตลอด 3 ปีลงถึง 67%

Madhu Rangarajan รองประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์โซลูชั่น บริษัท AMD

หัวหน้าฝ่ายไอทีจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดไปในเชิงการเลือกและปรับใช้โปรเซสเซอร์ให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพของดาต้าเซ็นเตอร์และขีดความสามารถการประมวลผลบนระบบคลาวด์ที่จะจับคู่เวิร์คโหลดแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่เข้ากับโปรเซสเซอร์ที่ดีที่สุดสำหรับงานที่องค์กรกำลังดำเนินงานอยู่

การพัฒนาระบบให้ทันสมัยด้วยแพลตฟอร์มที่ใช้ขุมพลังโปรเซสเซอร์ AMD EPYC™ หมายความว่าคุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงาน พื้นที่ และต้นทุนการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ การลดค่าใช้จ่ายจากความพยายามเหล่านี้สามารถนำไปเพื่อเพิ่มฮาร์ดแวร์ฟุตพริ้นให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือนำไปใช้กับการยกระดับแอปพลิเคชันด้าน Generative AI ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เกี่ยวกับ AMD

เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ AMD ขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งในส่วนของการประมวลผลกราฟฟิก และเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่นต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับวงการเกม เป็นแพลตฟอร์มระดับมืออาชีพ และเป็นศูนย์กลางข้อมูล ผู้บริโภคหลายร้อยล้านคน องค์กรธุรกิจชั้นนำที่จัดอยู่ในกลุ่ม Fortune 500 และหน่วยงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ทั่วโลก ต่างใช้เทคโนโลยีของ AMD เพื่อการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ชีวิต การทำงาน และความบันเทิง พนักงานของ AMD ทุกคนทั่วโลกล้วนมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่จะก้าวข้ามขอบเขตของข้อจำกัดทั้งหลาย ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AMD (NASDAQ: AMD) และกระบวนการสร้างสรรค์ต่างๆ ที่เราทำในปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ที่เว็บไซต์ websiteblogFacebook และ X


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การ์ทเนอร์เผยคาดการณ์สำคัญในปีนี้และอนาคตข้างหน้าสำหรับองค์กรและผู้ใช้ไอที

กรุงเทพฯประเทศไทย, 10 มกราคม 2568 — การ์ทเนอร์เผยการคาดการณ์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับปี 2568 และอนาคตข้างหน้า โดยการ์ทเนอร์ระบุว่า Generative AI (GenAI) กำลังส่งผลกระทบวงกว้างต่อพื้นที่ที่เคยมีแต่มนุษย์เท่านั้นที่สามารถทำได้

แดริล พลัมเมอร์ รองประธานอาวุโส หัวหน้าฝ่ายวิจัย และ Gartner Fellow กล่าวว่า เป็นที่ชัดเจนว่าไม่ว่าเราจะไปไหนก็หลีกเลี่ยงผลกระทบของ AI ไม่ได้ และ AI ก็กำลังพัฒนาไปพร้อม ๆ กับการใช้งานของมนุษย์ ก่อนที่จะไปถึงจุดที่มนุษย์ไล่ตามไม่ทัน เราต้องยอมรับก่อนว่า AI ช่วยให้เราพัฒนาได้ขึ้นมากแค่ไหน 

ในปี 2569 องค์กร 20% จะใช้ AI ปรับโครงสร้างองค์กรให้แบนราบลง โดยลดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางที่มีอยู่ในปัจจุบันลงมากกว่าครึ่ง

องค์กรที่นำ AI มาใช้เพื่อลดจำนวนผู้บริหารระดับกลางจะสามารถลดต้นทุนค่าจ้างในระยะสั้นและทำให้องค์กรประหยัดขึ้นในระยะยาว ซึ่งการนำ AI มาใช้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและขยายขอบเขตการควบคุม ด้วยการทำให้เป็นอัตโนมัติ ทั้งการจัดตารางงาน การรายงาน และการติดตามผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ซึ่งช่วยให้ผู้จัดการมุ่งเน้นไปที่กิจกรรมเชิงกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่นและมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

การนำ AI มาใช้จะนำมาซึ่งความท้าทายให้กับองค์กร เช่น พนักงานส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในงาน ขณะที่ผู้จัดการก็หนักใจกับจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่เพิ่มขึ้น และพนักงานที่เหลือไม่เต็มใจเปลี่ยนแปลงหรือยอมรับการใช้ AI มาเป็นตัวขับเคลื่อนการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน และอาจส่งผลต่อเส้นทางการเป็นพี่เลี้ยงสอนและการเรียนรู้ล่มสลาย จนทำให้พนักงานระดับล่างขาดโอกาสในการพัฒนา 

ในปี 2571 การจมดิ่งไปในเทคโนโลยีจะส่งผลกระทบต่อประชากรในด้านการเสพติดดิจิทัลและการแยกตัวจากสังคม ส่งผลให้ 70% ขององค์กรต้องนำนโยบายต่อต้านดิจิทัลมาใช้งาน

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในปี 2571 จะมีประชากรประมาณหนึ่งพันล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากการเสพติดดิจิทัล ซึ่งส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง มีความเครียดเพิ่มขึ้น และเกิดปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น มีความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ การจมดิ่งในดิจิทัลจะส่งผลกระทบในแง่ลบต่อทักษะทางสังคม โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบมากกว่า

พลัมเมอร์กล่าวว่า ผลกระทบของการแยกตัวจากการจมดิ่งในดิจิทัลจะนำไปสู่แรงงานที่แตกแยก (Disjointed Workforce) ทำให้องค์กรพบว่าประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานและผู้ร่วมงานลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นองค์กรจำเป็นต้องกำหนดช่วงเวลาดีท็อกซ์ดิจิทัลให้เป็นข้อบังคับสำหรับพนักงาน สั่งห้ามการสื่อสารนอกเวลางาน และนำเครื่องมือและเทคนิคแบบแอนะล็อกกลับมาใช้เป็นข้อบังคับ อาทิ การประชุมที่ปลอดหน้าจอ การงดใช้อีเมลในวันศุกร์ หรือการพักรับประทานอาหารกลางวันนอกโต๊ะทำงาน

ในปี 2572 คณะกรรมการบริษัท 10% ทั่วโลกจะใช้ AI guidance เพื่อท้าทายการตัดสินใจของผู้บริหารที่มีผลกระทบสำคัญต่อธุรกิจ

ข้อมูลเชิงลึกที่สร้างขึ้นจาก AI จะมีผลกระทบวงกว้างต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร และทำให้กรรมการบริษัทนำมาใช้ท้าทายการตัดสินใจของผู้บริหาร นี่จะเป็นการหมดยุคของซีอีโอที่ชอบตัดสินใจตามอำเภอใจโดยไม่มีเหตุผลรองรับ

พลัมเมอร์กล่าวว่า ในช่วงแรก ข้อมูลเชิงลึกจาก AI จะดูคล้ายกับรายงานแยกย่อย หรือ Minority Report ที่ไม่สะท้อนมุมมองของกรรมการส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อมูลเชิงลึกที่ได้จาก AI นี้ พิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิผล มันจะได้รับการยอมรับในหมู่ผู้บริหารที่แข่งกันหาข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ทางธุรกิจ

ในปี 2571 องค์กรขนาดใหญ่ 40% จะนำ AI มาใช้เพื่อจัดการและวัดอารมณ์รวมถึงพฤติกรรมของพนักงาน ทั้งหมดก็เพื่อผลกำไร

AI มีความสามารถวิเคราะห์ความรู้สึกจากการมีปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารในที่ทำงาน สิ่งนี้ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้เข้าใจถึงความรู้สึกโดยรวมที่สอดคล้องกับพฤติกรรมที่กำหนด ช่วยให้ทีมงานมีแรงจูงใจและมีส่วนร่วมในการทำงาน

พนักงานอาจรู้สึกว่าความเป็นอิสระและความเป็นส่วนตัวของพวกเขาถูกละเมิด จนทำให้เกิดความไม่พอใจและความไว้วางใจลดลง” พลัมเมอร์กล่าว “แม้ประโยชน์ที่ได้รับจากเทคโนโลยีการวิเคราะห์พฤติกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI นั้นจะมีมากมาย แต่บริษัทต้องรักษาสมดุลระหว่างการนำ AI มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพร่วมกับการดูแลเอาใจใส่ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานอย่างจริงใจ เพื่อเลี่ยงผลเสียด้านขวัญกำลังใจและความจงรักภักดีต่อองค์กรในระยะยาว

ในปี 2570 สัญญาจ้างงานใหม่ 70% จะรวมข้อกำหนดเรื่องการอนุญาตสิทธิ์และการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับการแสดงตัวตนในระบบ AI

โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLMs) ที่เกิดขึ้นไม่มีกำหนดถึงวันสิ้นสุด นั่นหมายความว่าข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานที่ถูกจัดเก็บโดย LLMs ขององค์กรนั้นจะยังอยู่ใน LLM ทั้งช่วงระหว่างการจ้างงานและหลังจากสิ้นสุดการจ้างงาน 

นำไปสู่การถกเถียงในเชิงสาธารณะ ที่ตั้งคำถามกันว่าพนักงานหรือนายจ้างมีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของตัวตนดิจิทัลนี้หรือไม่ ซึ่งในท้ายที่สุดอาจนำไปสู่การฟ้องร้องทางกฎหมาย โดยข้อกำหนดการใช้งานอย่างเป็นธรรมจะถูกนำมาใช้เพื่อปกป้ององค์กรจากการฟ้องร้องในทันที แต่ก็ยังคงก่อให้เกิดข้อขัดแย้งตามมา 

ในปี 2570 ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ 70% จะรวมข้อกำหนดและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับ AI ด้านอารมณ์ไว้ในสัญญาทางเทคโนโลยี มิฉะนั้นอาจเสี่ยงต่อความเสียหายทางการเงินหลายพันล้าน

ภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นจนส่งผลให้มีผู้ลาออก อีกทั้งความต้องการของผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น และอัตราการหมดไฟ (Burnout) ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกำลังก่อให้เกิดวิกฤตความเห็นอกเห็นใจ หรือ Empathy Crisis โดยการใช้ Emotional AI ในงานต่าง ๆ อาทิ การเก็บข้อมูลผู้ป่วย สามารถช่วยบุคลากรทางการแพทย์ให้มีเวลาว่างมากขึ้น ช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าและความคับข้องใจที่ประสบจากภาระงานที่เพิ่มขึ้น

ในปี 2571 บริษัทในดัชนี S&P 30% จะใช้การติดฉลาก GenAI เช่น “xxGPT” เพื่อปรับภาพแบรนด์และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ ๆ 

ผู้บริหาร CMO ต่างมองว่า GenAI เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้เปิดตัวร่วมกับทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่และโมเดลธุรกิจใหม่ โดย GenAI ยังเปิดโอกาสให้เกิดช่องทางรายได้ใหม่ ๆ จากการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งมอบประสบการณ์ลูกค้าที่ดีขึ้น รวมถึงทำให้กระบวนการต่าง ๆ เป็นอัตโนมัติ ขณะที่ภูมิทัศน์ของ GenAI มีการแข่งขันมากขึ้น หลายบริษัทกำลังสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ด้วยการพัฒนาโมเดลเฉพาะทางที่ปรับให้เหมาะกับอุตสาหกรรมของตน

ในปี 2571 25% ของการละเมิดความปลอดภัยในองค์กร จะถูกสืบย้อนกลับไปที่การใช้ AI agent ในทางที่ผิด ทั้งจากผู้โจมตีภายนอกและภายในที่เป็นอันตราย

องค์กรจำเป็นต้องมีโซลูชันด้านวามปลอดภัยและความเสี่ยงใหม่ ๆ เนื่องจาก AI agents เพิ่มพื้นที่การโจมตีที่มองไม่เห็นในองค์กรมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะบังคับให้องค์กรต้องปกป้องธุรกิจของตนจากผู้โจมตีภายนอกที่ชาญฉลาดและจากพนักงานที่ไม่พอใจที่สร้าง AI agents เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นอันตราย 

องค์กรไม่สามารถรอที่จะนำระบบการควบคุมต่าง ๆ เพื่อลดภัยคุกคามจาก AI agent มาใช้ได้ ดังนั้นแนวทางที่ง่ายกว่าคือการสร้างระบบการลดความเสี่ยงและความปลอดภัยเข้าไปไว้ในตัวผลิตภัณฑ์และซอฟต์แวร์ ซึ่งดีกว่าเพิ่มเข้าไปหลังจากเกิดเหตุการละเมิดความปลอดภัย” พลัมเมอร์กล่าวว่า

ในปี 2571 ผู้บริหาร CIOs 40% จะเรียกร้องให้มี “Guardian Agents” สำหรับเฝ้าติดตาม ดูแล หรือควบคุมผลลัพธ์ที่เกิดจากการกระทำของ AI agent โดยอัตโนมัติ

องค์กรกำลังให้ความสนใจ AI agents เพิ่มขึ้น แต่เมื่อมีการเพิ่มระดับความอัจฉริยะใน GenAI agent ใหม่ ๆ ก็มีแนวโน้มที่ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์จะนำมาปรับใช้สำหรับวางแผนเชิงกลยุทธ์อย่างรวดเร็ว โดย “Guardian Agents” คือการพัฒนาต่อยอดจากแนวคิดการตรวจสอบความปลอดภัย การสังเกตการณ์ การรับรองการปฏิบัติตามกฎระเบียบ จริยธรรม การกรองข้อมูล การตรวจสอบบันทึก และกลไกอื่น ๆ อีกมากมายของ AI Agent ซึ่งตลอดปี 2568 ตัวเลขการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มี AI agent แบบมัลติเพิลจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับมียูสเคสการใช้งานที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

อีกไม่นานการโจมตีด้านความปลอดภัยของ AI agent จะเป็นพื้นที่ภัยคุกคามใหม่ ซึ่งการนำมาตรการป้องกันตัวกรองความปลอดภัยการกำกับดูแลโดยมนุษย์ หรือแม้แต่การสังเกตการณ์ด้านความปลอดภัยมาใช้อาจยังไม่เพียงพอที่จะรับประกันว่าการใช้ AI agent นั้นมีความเหมาะสมและใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ” พลัมเมอร์ กล่าว

ปี 2570 บริษัทในกลุ่ม Fortune 500 จะเปลี่ยนงบประมาณ แสนล้านดอลลาร์จากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านพลังงานไปสู่ไมโครกริด เพื่อลดความเสี่ยงเรื้อรังด้านพลังงานและความต้องการด้าน AI

ไมโครกริดคือโครงข่ายพลังงานที่เชื่อมต่อกับการผลิต การกักเก็บรักษา และการจ่ายพลังงานในระบบที่แยกตัวเป็นอิสระ ซึ่งสามารถทำงานได้ด้วยตัวเองหรือทำงานร่วมกับระบบโครงข่ายพลังงานหลักเพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานในพื้นที่หรือสถานที่ที่มีความเฉพาะ

เทคโนโลยีนี้สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับการดำเนินงานต่าง ๆ ในประจำวันและช่วยลดความเสี่ยงด้านพลังงานในอนาคต โดยบริษัทในกลุ่ม Fortune 500 ที่ใช้จ่ายค่าดำเนินงานส่วนหนึ่งไปกับพลังงานควรพิจารณาลงทุนในไมโครกริด ซึ่งจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการจ่ายค่าสาธารณูปโภคที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

iNT: พันธมิตรเพื่ออนาคต พร้อมเปิดประตูสู่นวัตกรรมและธุรกิจ Start-Up

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ด้วยความพร้อมในการให้คำปรึกษาและโอกาสในการเชื่อมโยงเครือข่ายกับพันธมิตรระดับโลก

iNT เป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีเป้าหมายในการนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของ มหาวิทยาลัยไปสู่ศูนย์กลางด้านการสร้างนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัยให้ถูกนำไปสร้างเป็นนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม มีส่วนช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมไปถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับงานวิจัยในการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

ในปัจจุบัน iNT มีเครือข่ายพันธมิตรที่ครอบคลุมทั้งในระดับประเทศและนานาชาติพร้อมเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมการนำองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยให้สามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ที่ตอบโจทย์ของตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ

บริการของ iNT ที่โดดเด่น

การบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์
เป็นที่ปรึกษาและให้บริการด้านการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายทางการค้า พร้อมผลักดันและส่งเสริมการนำองค์ความรู้จากทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ หรือ Licensing Commercialization เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย 

การสนับสนุนให้เกิดการบ่มเพาะธุรกิจ Startup : Entrepreneurial Ecosystem 

ด้วยหลากหลายโครงการที่จะส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษามีแนวคิดในการเป็นเป็นผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการ Incubation Program บ่มเพาะ Startup  โครงการ iNT Accelerate การพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Technology) ผ่านกระบวนเร่งสปีดที่เรียกว่า Acceleration Program รวมไปถึงการให้บริการพื้นที่ Co-Working Space ภายใต้ชื่อ MaSHARES นอกจากนี้ทางสถาบัน iNT ยังมีการจัดหาทุนสนับสนุนในการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม เพื่อนำทุนไปต่อยอด ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่อไปในอนาคต อาทิ ทุน Innovation Fund เพื่อพัฒนานวัตกรรมและผู้ประกอบการเพื่อไปสู่เชิงพาณิชย์, Youth Startup Fund, ทุน Talent Mobility ที่ให้อาจารย์นักวิจัยได้ไปทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม

การเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม ด้านบริการวิจัยและวิชาการ

โดยมีการจัดตั้งศูนย์ย่อยในการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม คือ ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) เป็นศูนย์การในการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม

โดย iNT มีพาร์ทเนอร์มากมาย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.), สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น และ หน่วยงานเอกชน อาทิเช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, SCG  เป็นต้น

เครือข่ายพาร์ทเนอร์เหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้สถาบัน iNT สู่การเป็นศูนย์กลางด้านการสร้างนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ พร้อมขับเคลื่อนสนับสนุนต่อยอดนวัตกรรมไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก สร้าง Real World Impact สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสังคมต่อไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานอธิการบดี ชั้น 2 999 ถนน พุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล นครปฐม 73170 โทร. 02-849-6050


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน มจพ. เปิดสอบตรงวุฒิ ม.3 โครงการรับตรง ปี’2568

โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทยเยอรมัน วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เปิดรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (.3) เข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทยเยอรมัน (ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ในโครงการรับตรง (สอบข้อเขียน) ปีการศึกษา 2568 รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 28 กุมภาพันธ์ 2568 รายละเอียดดังนี้

คุณสมบัติ

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (.1-.3) ผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือผ่านการเรียน ในชั้น ม.4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.50

สาขาวิชาที่เปิดรับ

1) สาขาเตรียมวิศวกรรมเครื่องกล -M (ภาคภาษาไทย)
2) สาขาเตรียมวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ -E (ภาคภาษาไทย)
3) สาขาเตรียมวิศวกรรมโยธา -C (ภาคภาษาไทย)
4.) สาขาเตรียมวิศวเครื่องกล  -M (English Program)

5) สาขาเตรียมวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ -E (English Program)
6) สาขาเตรียมวิศวกรรมโยธา -C (English Program)

สอบข้อเขียน วันที่ 22 มีนาคม 2568

ประกาศผลสอบข้อเขียน  วันที่ 28 มีนาคม 2568

สอบสัมภาษณ์ละส่งตรวจสุขภาพ  วันที่ 2 เมษายน 2568

การสมัคร Download ใบสมัครและสมัครที่ http:/www.admission.kmutnb.ac.th/  โดยการสมัครเลือกได้

3 อันดับ

ระเบียบการรับสมัคร https://www.admission.kmutnb.ac.th/apply/project_tabs/1277

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่  กลุ่มงานรับเข้าศึกษา กองบริการการศึกษา มจพ.  โทรศัพท์ 02-555-2000 ต่อ 1626-1627 ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทยเยอรมัน  โทรศัพท์ 02-555-2000 ต่อ 6109, 6111, 6115 และ facebook :โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทยเยอรมัน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

BLESS x ShooShoke รณรงค์กำจัดขยะ (Food Waste) ด้วยระบบ Zero Waste รีไซเคิลเป็นปุ๋ยชีวภาพ

บริษัท เบล็ส แอสเสท กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (BLESS  ASSET GROUP) หรือ BLESS ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างบ้านคุณภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย ไปพร้อมกับการสร้างสังคมคุณภาพ และโลกที่ยั่งยืน ภายใต้นิยาม “ใช้ชีวิต..ให้สุขยิ่งกว่า Live your Blessed Life” ตามเจตนารมย์ของแบรนด์ “บ้านสุข บ้าน BLESS” ที่ให้ความสำคัญกับ Waste Management ส่งเสริมการจัดการขยะอย่างมีความรับผิดชอบ ครอบคลุมตั้งแต่ที่อยู่อาศัย พื้นที่ส่วนกลาง ไซต์งานก่อสร้าง และออฟฟิศของบริษัทฯ เพื่อนำขยะรีไซเคิล กลับมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดปริมาณขยะที่จะนำไปสู่การฝังกลบ (Landfill) ให้ได้มากที่สุด

โดย BLESS เริ่มต้นเดินหน้าแยกขยะเพื่อรีไซเคิล และนำกลับมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งไม่ใช่แค่การแยกขยะ แต่ยังรวมถึงการนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการร่วมมือกับ ShooShoke (ชูชก) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะ Food Waste “เปลี่ยนขยะ(อาหาร) ให้เกิดประโยชน์ (From Food back to Food)” ด้วยเทคโนโลยีการทำปุ๋ยหมักขั้นสูง มุ่งเน้นการแปรรูปเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ เพื่อสร้างระบบการย่อยเศษอาหารที่ยั่งยืนและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน
โดยจะนำปุ๋ยที่ได้จากการแปรรูปเศษอาหารไปใช้ในการปลูกต้นไม้ภายในทุกโครงการในอนาคต

นำร่องโครงการแรกที่โครงการ Blessington วงแหวน – จตุโชติ  โดยมี คุณชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย คุณนิภา อภิรัตนรุ่งเรือง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบล็ส แอสเสท กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BLESS และ คุณทวีศักดิ์ อ่องเอี่ยม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ShooShoke รวมทั้งได้รับเกียรติจาก คุณกรณ์ จาติกวณิช Co-Founder นำเครื่องย่อยเศษอาหารให้เป็นปุ๋ย ShooShoke ขนาด 25 กิโลกรัม มามอบให้ที่โครงการ Blessington วงแหวน – จตุโชติ พร้อมสาธิตการทำงานของเครื่องย่อยเศษอาหาร ให้ทีมงาน BLESS เข้าใจในขบวนการอย่างละเอียด

สำหรับความร่วมมือกันในครั้งนี้ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ในเป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และเป้าหมายที่ 17 เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

คุณชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบล็ส แอสเสท กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับวิสัยทัศน์ ที่มุ่งสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในด้านของความยั่งยืน ที่เต็มไปด้วยความสุขของผู้พักอาศัย พร้อมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและยั่งยืนไปพร้อมกัน

ทั้งนี้หลังจากได้นำร่องโครงการ “เปลี่ยนขยะ(อาหาร) ให้เกิดประโยชน์ (From Food back to Food)” ที่ไซต์งานก่อสร้างโครงการ Blessington วงแหวน – จตุโชติ ไปแล้ว BLESS  จะเดินหน้าต่อยอดไปยังโครงการที่อยู่อาศัยทั้งหมดของบริษัทฯ เพื่อไปสู่เป้าหมายการเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ดำเนินธุรกิจสร้างความสุขสมดุลของผู้พักอาศัย ไปพร้อมกับความยั่งยืนของโลก


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และนวัตกรรม นักศึกษา ป.โท

คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เปิดรับสมัครนักศึกษา ระดับปริญญาโท รุ่นที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1/2568   ในหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และนวัตกรรม” M. Econ (Applied and Innovative Economics) (หลักสูตรใหม่ ปี 2567)  รับสมัครตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปทางเว็ปไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย

จุดเด่นของหลักสูตร

เน้นการประยุกต์ใช้ได้จริง  โดยหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และนวัตกรรม มจพ. นี้เปิดรับสมัครนักศึกษาทั้งภาคปกติและภาคพิเศษรายละเอียดดังนี้

1) ภาคปกติ (MAIE) แผนวิชาการแบบ 1 (เรียนคอร์สเวิร์คและทำวิทยานิพนธ์รวม 36 หน่วยกิต) เรียนแบบ Block Course ในวันจันทร์ศุกร์ เวลา 9.00 – 16.00 . ค่าใช้จ่ายตามหน่วยกิต โดยประมาณ 18,000 – 20,000 บาท/เทอม ค่าสมัคร 500 บาท

2) ภาคพิเศษ (S-MAIE) แผนวิชาการแบบ 1 (เรียนคอร์สเวิร์คและทำวิทยานิพนธ์รวม 36 หน่วยกิต) เรียนแบบ Block Course ในวันเสาร์อาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 . (มีเครื่องดื่มบริการ) ค่าเทอมเหมาจ่าย 35,000 บาท/เทอม ค่าสมัคร 1,000 บาท

เปิดรับสำหรับผู้จบปริญญาตรี ทุกสาขา มีสอนปรับพื้นฐานเศรษฐศาสตร์ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) และสามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ตามระเบียบของมหาวิทยาลัย)

รับสมัครออนไลน์ ทางเว็ปไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย http://grad.admission.kmutnb.ac.th/ApplyLogin

รายละเอียดหลักสูตร

https://drive.google.com/drive/folders/1m0DlK-Q3eUBrV2g1YvEJULnKfh_rX7AA?usp=drive_link

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร 087-562-3472 ดร. พิเศษพร วศวงศ์ หรือ Facebook page : หลักสูตรปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และนวัตกรรม มจพ. และที่ Email: mecon@arts.kmutnb.ac.th

ขวัญฤทัย ข่าว


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซีเมนส์ โมบิลิตี้และกลุ่มบริษัทพันธมิตร ได้รับการพิจารณาและลงนามในสัญญาสำคัญ ช่วยพลิกโฉมระบบขนส่งสาธารณะทางรางในประเทศไทย

เมื่อไม่นานนี้ กลุ่มบริษัทซีเมนส์ โมบิลิตี้ และกลุ่มบริษัทพันธมิตร บริษัท โบซานคายาและบริษัท เอสที เอ็นจิเนียริ่ง เออร์เบิน โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับคัดเลือกให้ดำเนินงานภายใต้สัญญาหลายฉบับในหลายโครงการสำคัญ ประกอบด้วยโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีส้มและสายสีน้ำเงินในกรุงเทพมหานคร สัญญาดังกล่าวครอบคลุมถึงการส่งมอบขบวนรถใหม่ทั้งหมด 53 ขบวน รวมถึงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณและการซ่อมบำรุง นอกจากนี้ ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ยังได้รับมอบหมายให้ขยายการเชื่อมต่อระหว่างเมืองในภาคเหนือของประเทศไทยด้วยระบบอาณัติสัญญาณและระบบโทรคมนาคมผ่านโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ถือว่าเป็นอีกก้าวสำคัญสำหรับซีเมนส์ โมบิลิตี้ในประเทศไทย โดยโครงการดังกล่าวได้รับการว่าจ้างจาก บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (CK) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ปี 2567 ถึงปี 2582 ซึ่งจะช่วยยกระดับประสิทธิภาพ พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารและสร้างความยั่งยืนให้กับเครือข่ายการขนส่งสาธารณะทั้งในเมืองและระหว่างเมือง

นายไมเคิล ปีเตอร์ ประธานกรรมการฝ่ายบริหาร บริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ประเทศเยอรมนี กล่าวว่า ในฐานะพันธมิตรที่เชื่อถือได้ในประเทศไทยมายาวนานกว่า 30 ปี เรารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของกรุงเทพฯ และมีบทบาทในการสร้างสรรค์การเดินทางในประเทศไทยเพื่อคนรุ่นต่อไป เทคโนโลยีของเราในปัจจุบันได้ให้บริการแก่ผู้โดยสารมากกว่า ล้านคนในกรุงเทพฯ ทุกวัน ช่วยลดปัญหาความแออัดและเวลาการเดินทางในกรุงเทพฯ เป็นอย่างดี และด้วยขบวนรถไฟใหม่จำนวน 53 ขบวน ระบบสัญญาณและโทรคมนาคมที่ทันสมัย การบริการบำรุงรักษาระยะยาวสำหรับสายสีส้ม สายสีน้ำเงิน รวมถึงการเชื่อมต่อสายหลักทางตอนเหนือของประเทศ จะทำให้ผู้คนสามารถเดินทางถึงจุดหมายได้อย่างรวดเร็วและไร้การปล่อยก๊าซมลพิษมากขึ้น”

ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จะส่งมอบรถไฟฟ้าใหม่ 32 ขบวนและระบบบูรณาการให้กับรถไฟฟ้า MRT สายสีส้ม พร้อมดูแลการซ่อมบำรุง

กลุ่มบริษัทซีเมนส์ โมบิลิตี้ และกลุ่มบริษัทพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เอสที เอ็นจิเนียริ่ง เออร์เบิน โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทผู้ผลิตรถไฟ จากประเทศตุรกี บริษัท โบซานคายา ได้รับคัดเลือกให้ดำเนินงานภายใต้สัญญาโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) รถไฟฟ้า MRT สายสีส้ม โดยสัญญาดังกล่าวครอบคลุมการส่งมอบขบวนรถไฟ 32 ขบวน 3 ตู้ รวมไปถึงการออกแบบ ติดตั้ง และบูรณาการระบบกลไกและไฟฟ้าที่ครอบคลุมเส้นทาง 35.9 กิโลเมตร โดยขบวนรถไฟฟ้าจะให้บริการทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของเส้นทาง ซึ่งมีระยะทางทั้งใต้ดินและทางยกระดับ ขอบเขตความรับผิดชอบในสัญญาฉบับนี้ครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาตัวรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสาร ประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา และระบบแสดงผลข้อมูลโดยสารรถไฟฟ้า เพื่อความมั่นใจว่าจะมอบโซลูชันการขนส่งจะที่มีประสิทธิภาพสูงและบูรณาการครบวงจร โดยขบวนรถไฟฟ้ารุ่นใหม่นี้มาพร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัย ​​ภายในกว้างขวาง ระบบปรับอากาศประสิทธิภาพสูง พร้อมระบบแสดงผลข้อมูลทันสมัย เพื่อให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายของผู้โดยสาร นอกจากนี้ โซลูชันประหยัดพลังงานของ ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ยังสอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของกรุงเทพฯ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ โดยรวมของระบบรถไฟฟ้าสายสีส้ม ยิ่งไปกว่านั้นซีเมนส์ โมบิลิตี้ยังได้รับสัญญาบำรุงรักษาระยะยาวเพื่อการดำเนินงานของรถไฟฟ้าที่เชื่อถือได้และราบรื่นต่อไป 

ซีเมนส์ โมบิลิตี้ เพิ่มศักยภาพ MRT รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ด้วยขบวนรถใหม่ 21 ขบวน พร้อมปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณและขยายบริการซ่อมบำรุงรักษาให้ยาวนานยิ่งขึ้น

ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ยังได้รับสัญญาสำหรับโครงการปรับปรุงรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน จัดหาขบวนรถไฟฟ้าใหม่เพิ่มเติมจำนวน 21 ขบวน ขบวนละ ตู้ และการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณและระบบตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-time (SCADA) ที่มีอยู่เดิมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ระยะห่างระหว่างขบวนรถ สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีระยะทางรวม 48 กิโลเมตร และสถานีทั้งหมด 38 สถานี ถือเป็นส่วนสำคัญของเครือข่ายการขนส่งในกรุงเทพฯ ซึ่งซีเมนส์ โมบิลิตี้ มีบทบาทสำคัญพัฒนารถไฟฟ้าสายนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 โดยให้การสนับสนุนทั้งการขยายและปรับปรุงให้มีความทันสมัยมาโดยตลอด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เซ็นสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรสำหรับขบวนรถไฟใหม่ที่เพิ่มเติมมา รวมถึงการขยายสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรที่มีอยู่เดิม โดยมีขอบเขตการบริการครอบคลุมระบบสำคัญทั้งหมด ประกอบด้วยตัวรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสาร ประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา ระบบจ่ายไฟ และระบบตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-time (SCADA) รวมถึงระบบแสดงข้อมูลโดยสารรถไฟฟ้าระบบการจัดการคลังสินค้า และศูนย์รับรายงานความบกพร่อง หรือ Fault Reporting Center ทั้งหมดนี้เพื่อตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการรับประกันว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะยังคงเป็นส่วนสำคัญที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือของโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ไปจนถึงปี พ.ศ.2582

ขยายการเชื่อมต่อขนส่งระบบรางของประเทศไทยในเส้นทางเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ

นอกเหนือจากโครงการรถไฟฟ้า MRT ในกรุงเทพฯ ซีเมนส์ โมบิลิตี้ยังได้รับสัญญาในการพัฒนาการเชื่อมต่อรถไฟระหว่างเมืองผ่านโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โดยได้รับสัญญาในสองส่วน คือสัญญาที่ 2 (งาว – เชียงราย ระยะทาง 132 กิโลเมตร มี 11 สถานี) และในสัญญาที่ 3 (เชียงราย – เชียงของ ระยะทาง 87 กิโลเมตร มี สถานี) บริษัทฯ จะติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและระบบโทรคมนาคมที่ทันสมัยตลอดทั้งสาย ซึ่งรวมถึงระบบควบคุมอาณัติสัญญาณจากศูนย์กลาง (CTC) และระบบควบคุมรถไฟฟ้าอัตโนมัติ ที่เป็นไปตามมาตรฐานยุโรป ระดับที่ 1 (ETCS Level 1) 

ระบบอาณัติสัญญาณและระบบโทรคมนาคมนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาก่อสร้างทางรถไฟหลัก องค์ประกอบสำคัญในสัญญานี้ได้แก่ ระบบบังคับสัมพันธ์ Trackguard Westrace MKII, ระบบควบคุมอาณัติสัญญาณจากศูนย์กลาง (CTC) Controlguide Rail9000, จอควบคุมอาณัติสัญญาณจราจรโดยนายสถานีระบบ ETCS L1, ประแจสับรางระบบตรวจสอบตำแหน่งรถไฟโดยใช้วงจรไฟตอน, และเครื่องนับเพลา Clearguard ACM250 และมีอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณเพิ่มเติมที่จัดหาจากในประเทศ สำหรับงานวิศวกรรมส่วนใหญ่จะดำเนินการในประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญของซีเมนส์จากสเปน ออสเตรเลีย และเยอรมนี

 การพัฒนาระบบขนส่งเพื่อทุกคนในประเทศไทย

ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันคมนาคมขนส่งทางราง ได้รับความไว้วางใจอย่างต่อเนื่องมายาวนานกว่า 30 ปี ผ่านการดำเนินโครงการสำคัญต่าง ๆ และการเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้ในประเทศไทย ตั้งแต่โครงการระบบขนส่งมวลชนยกระดับแห่งแรกของกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2537 จนถึงรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรก (สายสีน้ำเงิน หรือสายเฉลิมรัชมงคล) ในปี พ.ศ.2547 นายโธมัสค์ มาซัวร์ ประธานกรรมการฝ่ายบริหาร บริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ทำให้บริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ได้รับความไว้วางใจและความเชื่อมั่นจากพันธมิตร ส่งผลให้เกิดความร่วมมือในระยะยาว บริษัทฯ มีความภาคภูมิใจที่ได้รับเลือกให้เป็นพันธมิตรในการขยายเครือข่ายรถไฟของประเทศไทย และจะยังคงมุ่งมั่นที่จะนำเสนอโซลูชันการขนส่งอย่างยั่งยืนแบบไร้รอยต่อ ที่เชื่อถือได้ กับประเทศไทยต่อไป


 

Exit mobile version