ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์ ตัว​เก็บ​ประจุ​ความ​จุ​สูง

ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์ ตัว​เก็บ​ประจุ​ความ​จุ​สูง

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พื้นฐานที่เรา​จะ​ต้อง​รู้จัก​คือ ตัว​เก็บ​ประจุ​หรือคา​ปา​ซิ​เตอร์ (capacitor) ซึ่ง​มี​ด้วยกัน​หลายชนิด​และ​มี​การ​นำไป​ใช้งาน​ที่​แตกต่างกัน แต่ทำไมค่า​ของ​ตัว​เก็บ​ประจุ มี​แต่​ค่า​​พิโกฟา​รัด (pF : 10-12 ฟา​รัด ), นาโนฟา​รัด (nF : 10-9 ฟา​รัด) และ​ไมโครฟา​รัด (m : 10-6 ฟา​รัด) ไม่เห็น​มี​ค่าฟา​รัด (Farad) ให้​ใช้งานเลย คำ​ตอบ​ที่​ได้​คือ มันเป็นค่าที่​ใหญ่มาก ต่อมาเราจึง​ได้เห็นพัฒนาการของ​ตัว​เก็บ​ประจุซึ่​ทำให้​เราได้​ใช้งาน​ตัว​เก็บ​ประจุค่า 0.1F, 0.33F และ 0.68F ซึ่ง​นำมาใช้​ใน​การ​เป็น​แหล่ง​จ่าย​ไฟสำรอง​ชั่ง​คราว

แต่ในปัจจุบันนี้​เรามี​ตัว​เก็บ​ประจุ​ในหน่วย​ฟา​รัด​ออกมา​ให้​ใช้งานกัน​แล้ว มัน​มีชื่อ​เรียกว่า ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์ (Super Capacitor) มี​ให้​เลือก​ตั้งแต่ 1 ฟา​รัด​ไป​จนถึง​หลาย​สิบ หลาย​ร้อยฟา​รัด​เลย​ทีเดียว

คุณสมบัติ​เด่นของซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์ ตัว​เก็บ​ประจุ​ความ​จุ​สูง​พิเศษ

  • มี​ค่า​ความ​จุ​สูง​ถึง​สูงมาก (1 ถึง​หลาย​สิบ หลาย​ร้อยฟา​รัด) ให้เลือกใช้ ภายใต้ขนาดของตัวถังที่​ไม่​ใหญ่ หรือ​อาจ​กล่าวได้ว่า เล็กมาก​เมื่อ​เทียบกับ​ค่า​ความ​จุ​ไฟฟ้า
  • ใช้​เทคโนโลยี​นำ​ไฟฟ้าแบบ 2 ชั้น (Electrical Double-Layer) ซึ่ง​ไม่มี​การใช้​ไดอิ​เล็ก​ตริก​ที่​เป็น​ของแข็ง​ดังที่​ใช้​ใน​การ​ผลิต​ตัว​เก็บ​ประจุ​ด้วย​เทคโนโลยี​เก่า และ​ใช้​ปฏิกิริยา​ทาง​เคมี​ใน​ลักษณะ​เดียว​กับ​แบตเตอรี่ ทำให้สามารถ​เพิ่ม​ความ​จุ​ไฟฟ้าได้มาก จึง​เรียกตัว​เก็บ​ประจุ​แบบนี้​ว่า EDLC (Electrical Double-Layer Capacitor)
  • ไม่ต้องการวงจรประจุ​หรือ​คายประจุที่​พิเศษแต่อย่างใด
  • การ​ประจุ​และ​คาย​ประจุ​ด้วย​แรงดัน​ที่​เกิน​ไม่​ส่งผลให้เกิดการจดจำค่าแรงดัน​หรือ memory effect ดังเช่นที่​พบ​ใน​แบตเตอรี่​แบบ​ประจุ​ได้
  • ใช้​เทคโนโลยี​พลังงาน​สะอาด​ใน​การ​ผลิต
  • เนื่องจาก​สามารถ​บัดกรี​เข้ากับ​แผ่น​วงจร​พิมพ์​ได้ ​ทำให้​ไม่มี​ปัญหา​เรื่อง​หน้า​สัมผัสใน​การ​เชื่อม​ต่อ​เพื่อ​ใช้งาน

รูปที่ 1 หน้าตาของซูเปอร์คาปาซิเตอร์แบบความต้านทานต่ำหรือ Low ESR คล้ายตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลต์ทั่วไป ที่น่าทึ่งคือ มันมีความจุ 3.3F 2.5V (ซ้าย) ซึ่งมากกว่า 470µF 16V (ขวา) ที่วางเปรียบเทียบกันถึงกว่า 7,000 เท่า แต่มีขนาดเกือบเท่ากัน

ข้อจำกัด​ของ​ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์

  • ​อายุ​การ​ใช้งาน เนื่องจาก​อายุ​ของ​สารอิ​เล็กท​รอ​ไลต์​ที่​นำมา​ทำเป็น​ไดอิ​เล็ก​ตริก
  • สารอิ​เล็กท​รอ​ไลต์​อาจ​รั่วออก​มาจาก​ตัว​เก็บ​ประจุ​ได้ หาก​ใช้งาน​ไม่​ถูกวิธี
  • ไม่​สามารถ​ใช้​ใน​การ​ถ่ายทอด​สัญญาณไฟ​สลับได้
  • มี​พิกัด​แรงดัน​ให้เลือกใช้งานไม่สูง ส่วนใหญ่อยู่​ใน​ย่าน 2 ถึง 5V (แต่​เชี่อว่า ใน​อนาคต​จะ​สามารถ​ทำได้)

ตัวอย่าง​งาน​ที่​นำ​ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์​ไป​ใช้

1. ใช้​ใน​วงจร​จ่าย​ไฟสำรอง​สำหรับ​รักษาข้อมูล​ใน​หน่วยความจำ​ของ เครื่อง​ตั้งเวลา, ระบบ​สมองกล​ฝังตัว, เครื่องเล่น DVD และ​เครื่องเสียง​สมัยใหม่​ที่​ต้องการ​เก็บข้อมูล​การ​ใช้งาน​ของ​ผู้ใช้งาน
2. ใช้​เป็น​แหล่ง​จ่ายไฟ​ชั่วคราว​สำหรับ​อุปกรณ์​หรือ​เครื่องมืออิ​เล็กท​รอ​นิกส์​แบบ​พกพา​เมื่อ​มี​การ​เปลี่ยน​แบตเตอรี่ โดย​แรงดัน​ที่​ตัว​เก็บ​ประจุ​นี้​สะสม​ไว้​จะ​นำมาใช้​เป็นไฟ​เลี้ยง​ระบบ​แทนที่​แบตเตอรี่​จนกว่า​การ​เปลี่ยน​แบตเตอรี่​จะ​เสร็จ​สมบูรณ์
3. ใช้​เป็น​แหล่ง​จ่าย​ไฟสำรอง​สำหรับ​ระบบ​ที่​ใช้​ไฟ​เลี้ยง​จาก​เซล​แสง​อาทิตย์ เช่นนาฬิกา​ข้อมือ, ระบบ​ควบคุม​เวลา และ​ระบบ​บันทึก​ข้อมูล​แบบ​พกพา โดย​กลาง​วันที่​มี​แดด​จะ​ใช้​พลังงาน​จาก​เซล​รับ​แสง​อาทิตย์​และ​มี​การ​ประจุ​แรงดัน​ไว้​ที่​ตัว​เก็บ​ประจุ เมื่อ​ถึงเวลา​กลางคืน​ที่​ไม่มี​แดด ระบบ​ก็​จะ​เปลี่ยน​มา​ใช้​ไฟ​เลี้ยง​จาก​ตัว​เก็บ​ประจุ​ความ​จุ​สูง​หรือ​ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์​นี้
4. ใช้​เป็น​แหล่ง​พลังงาน​ชั่วคราว​สำหรับ​รถยนต์​ไฮ​บริดจ์​ในขณะที่​รถยนต์​มี​การ​เบรก​หรือ​ใน​ช่วง​สตาร์ต​เครื่องยนต์

Electrical Double-Layer : ชั้นนำไฟฟ้า 2 ชั้น เทคโนโลยีที่ทลายข้อจำกัด
ในรูปที่ 2 แสดงโครงสร้างทางวัสดุของตัวเก็บประจุความจุสูงนี้ จะเห็นว่า มีส่วนประกอบที่สำคัญตัวหนี่งซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดตัวเก็บประจุความจุสูงนี้ขึ้นมาได้ นั่นคือ ผงถ่านกัมมันต์หรือ Activated Charcoal ซึ่งได้รับการจัดการให้มี 2 ชั้นคือ ชั้นแอโนดและชั้นแคโทด โดยมีอิเล็กทรอไลต์ทำหน้าที่เป็นไดอิเล็กตริก ด้วยคุณสมบัติที่พิเศษของผงถ่านกัมมันต์ซึ่งสามารถดูดซับอิเล็กตรอนได จึงทำให้มันกลายสภาพเป็นขั้วไฟฟ้าหรืออิเล็กโตรดได้ ดังนั้นจึงทำให้ดูเหมือนกับว่ามีชั้นตัวนำไฟฟ้า 2 ชั้นซ้อนกัน นั่นจึงทำให้เราสามารถมีพื้นที่สำหรับเก็บประจุไฟฟ้าได้มากขึ้นอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีในการผลิตตัวเก็บประจุแบบเดิม


รูปที่ 2 แสดงโครงสร้างทางวัสดุของซูเปอร์คาปาซิเตอร์หรือตัวเก็บประจุความจุสูงพิเศษและวงจรสมมูลย์

ถ่านกัมมันต์หรือ Actived Charcoal คือตัวเปลี่ยนเทคโนโลยี
ถ่านกัมมันต์เป็นถ่านที่พัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีในระดับนานโนเพื่อทำให้โครงสร้างทางกายภาพของถ่านเกิดรูพรุนหรือรอยแตกขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร (10-9 เมตร) จำนวนมาก ซึ่งภายในผนังรูพรุนนี้เองคือ พื้นที่ที่ทำการกักหรือเก็บประจุไฟฟ้า จึงอาจมองได้ว่า ถ่านกัมมันต์ทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำที่ดูดหรือซึมซับเอาประจุไฟฟ้าเข้ามารวมกันไว้ ทำให้ถ่าน กัมมันต์กลายเป็นขั้วไฟฟ้าได้ในที่สุด
การนำถ่านกัมมันต์มาใช้ในการสร้างตัวเก็บประจุจะมารูปของผงถ่านที่เคลือบลงบนแผ่นฟอยล์อะลูมิเนียมที่นำมาทำเป็นขั้วไฟฟ้าในตัวเก็บประจุ


รูปที่ 3 หน้าตาของถ่านกัมมันต์หรือ แบบหนึ่ง


รูปที่ 4 ภาพขยายเพื่อแสดงให้เห็นผิวของถ่านกัมมันต์ที่เป็นรูพรุนสำหรับกักเก็บประจุไฟฟ้าและโครงสร้างภายในของตัวเก็บประจุความจุสูงพิเศษ

ขั้นตอน​การ​ผลิต​ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์
ใน​รูป​ที่ 5 แสดง​ขั้นตอน​การ​ผลิต​ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์​หรือ​ตัว​เก็บ​ประจุ​ความ​จุ​สูง อธิบาย​ได้​ดังนี้
(1) เคลือบ​ผง​ถ่านกัม​มันต์​ลง​บน​แผ่น​ฟอยล์อะลูมิเนียม เพื่อ​สร้าง​ขั้ว ไฟฟ้า​จาก​ถ่านกัม​มันต์ (activated charcoal electrode) โดย​แบ่ง​การ​ทำเป็น​ขั้ว​แอโนด​และ​แคโทด
(2) ติดตั้ง​ขั้ว​หรือ​ขา​ต่อ​นำ​ไฟฟ้า​เข้ากับ​ชั้น​แอโนด​และแคโทด
(3) นำ​กระดาษ​ที่​ชุบ​สารละลายอิ​เล็กท​รอ​ไลต์​มา​คั่น​ระหว่าง​ชั้น​แอโนด​และ​แคโทด แล้ว​ม้วน​เป็น​ทรงกระบอก ติด​ด้วย​เทป​เพื่อ​รักษา​รูป​ทรงไว้
(4) นำ​ตัวถัง​ของ​ตัว​เก็บ​ประจุ​มา​หุ้ม​พร้อมกับ​ติด​ยาง​หุ้ม​ขา เพื่อ​ป้องกัน​ไม่​ให้​ขา​ของ​ตัว​เก็บ​ประจุ​ต่อ​ถึงกัน
(5) หุ้ม​ฉลาก​ที่​ระบุ​ยี่ห้อ ค่า​ความ​จุ และ​พิกัด​การ​ใช้งาน​ลง​บน​ตัวถัง ก็​จะ​ได้ตัว​เก็บ​ประจุ​ความ​จุ​สูง​พิเศษ​หรือ​ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์​มา​ใช้งาน


รูปที่ 5 ขั้นตอนการผลิตตัวเก็บประจุความจุสูง (www.elna.com)

ซูเปอร์คาปาซิเตอร์ V.S. แบตเตอรี่
ในตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบคุณสมบัติในด้านต่างๆ ของตัวเก็บประจุความจุสูงพิเศษนี้กับแบตเตอรี่และตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์ในแบบดั้งเดิม จะเห็นได้ว่าตัวเก็บประจุ EDLC มีข้อโดดเด่นในด้านเทคโนโลยีของวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิต, สารอิเล็กทรอไลต์ที่นำมาใช้เป็นชนิดที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ จึงไม่ก่อมลภาวะ และสามารถประจุซ้ำใหม่ได้มากกว่า 100,000 รอบ ซึ่งมากกว่าแบตเตอรี่ทุกชนิด


ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบคุณสมบัติต่างๆ ระหว่างตัวเก็บประจุความจุสูงพิเศษที่ใช้ เทคโนโลยี EDLC, ตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลต์มาตรฐาน และแบตเตอรี่


รูปที่ 6 ตัวอย่างของซูเปอร์คาปาซิเตอร์แบบต่างๆ