Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซีเมนส์และเมอร์เซเดส-เบนซ์พลิกโฉมอนาคตการวางแผนโรงงานอย่างยั่งยืนด้วย Digital Energy Twin

นวัตกรรม Digital Energy Twin ถูกออกแบบมาเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของเมอร์เซเดส-เบนซ์ที่จะใช้พลังงานหมุนเวียนในโรงงานที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของทั่วโลกได้ 100% ภายในปี 2582 โดย Digital Energy Twin ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดความซับซ้อนและเร่งกระบวนการวางแผนพลังงานขั้นต้นในโรงงานทั้งที่มีอยู่ที่เดิมและโรงงานใหม่ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการวางแผนได้อย่างมีนัยสำคัญ

ความร่วมมือดังกล่าวผสานองค์ความรู้ด้านการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และ Digital Energy Twin ของซีเมนส์เข้ากับความชำนาญด้านยานยนต์ของพันธมิตรระดับโลกของเรา เพื่อสร้างเครื่องมือที่สามารถปรับขยายได้สำหรับสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยซีเมนส์จะให้การฝึกอบรมและการสนับสนุน รวมทั้งการบำรุงรักษาและพัฒนา Digital Energy Twin อย่างต่อเนื่องตามแผนการนำไปใช้ที่ครอบคลุมเครือข่ายการผลิตระดับโลกของเมอร์เซเดส-เบนซ์ 

Digital Energy Twin ได้รับการออกแบบและทดสอบที่ ‘Factory 56’ ในโรงงานเมอร์เซเดส-เบนซ์เมืองซินเดลฟินเกน ประเทศเยอรมนี โดยใช้แบบจำลองพฤติกรรมของการใช้อาคาร อุปกรณ์ทางเทคนิค และการผลิตพลังงาน

Digital Energy Twin เชื่อมต่อข้อมูล เช่น สภาพอากาศ การจำลองการใช้พลังงานไฟฟ้า สิ่งต่างๆ ที่อยู่ในอาคารรวมถึงขนาดและมิติ เพื่อจำลองระบบพลังงานและอุปกรณ์ไฟฟ้า ทำให้เห็นภาพการใช้พลังงานในสถานการณ์ต่าง ๆ และให้คำแนะนำการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการ ซึ่งรวมถึงการประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง ตลอดจนการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

“ด้วยการจำลองสถานการณ์การปฏิบัติงานและการใช้พลังงานอย่างแม่นยำ Digital Energy Twin ช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและโปร่งใสมากขึ้นตั้งแต่ช่วงแรกของขั้นตอนการวางแผน” มัทเธียส รีเบลเลียส สมาชิกคณะกรรมการบริหารของซีเมนส์ เอจี และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะกล่าว “สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงวิธีที่ซีเมนส์ผสานโลกจริงและโลกดิจิทัล เข้าด้วยกันเพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนพร้อมขยายขอบเขตไปยังอุตสาหกรรมต่าง ๆ นับเป็นก้าวแรกที่น่าตื่นเต้นซึ่งนำไปสู่กระบวนการที่บูรณาการการวางแผน การปฎิบัติการอาคาร และการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด”

Digital Energy Twin แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Siemens Xcelerator ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิดที่เร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และเปิดโอกาสให้ลูกค้าและพันธมิตรร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชันตามความต้องการสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซีเมนส์และเมอร์เซเดส-เบนซ์ ได้จัดตั้งความร่วมมือทางกลยุทธ์ในปี 2564 สำหรับการผลิตยานยนต์ที่ยั่งยืน ทำให้เกิดความร่วมมือผลักดันการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับวิธีการผลิตที่ยั่งยืน

“Digital Energy Twin เป็นคำตอบของเราในการนำเสนอแบบทำให้เห็นภาพ วิเคราะห์ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการประหยัดพลังงานของอาคารอย่างยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมนี้ เราได้รับประโยชน์จากความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับอาคารโรงงานที่มีอยู่และเปลี่ยนโฉมสู่อาคารอัจฉริยะ เราสามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพของอาคารได้อย่างเต็มที่ และวางมาตรฐานการใช้อาคารที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานและความยั่งยืนในเครือข่ายการผลิตระดับโลกของเมอร์เซเดส-เบนซ์” อาร์โน ฟาน เดอร์ แมร์เวอ รองประธานฝ่ายวางแผนการผลิต เมอร์เซเดส-เบนซ์คาร์ กล่าว

Digital Energy Twin มีความสำคัญอย่างมากในพอร์ตโฟลิโอโซลูชันของซีเมนส์สำหรับการสนับสนุนลูกค้าอุตสาหกรรมในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนและการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซีเมนส์ประกาศเมื่อไม่นานมานี้ว่ากำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรระดับนานาชาติอีกรายหนึ่ง เพื่อไปสู่การวางแผนการผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในระดับโลก ด้วยการใช้ Digital Energy Twin จำลองการใช้พลังงานและระบุความสามารถในการประหยัดพลังงานจากโรงงานผลิตเบียร์ 15 แห่งทั่วโลก จากการประมาณการของซีเมนส์ แต่ละโรงงานจะสามารถประหยัดพลังงานได้ระหว่าง 15-20 เปอร์เซ็นต์ โดยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ย 50 เปอร์เซ็นต์ต่อแห่ง

เกี่ยวกับซีเมนส์

ซีเมนส์ เอจี (เบอร์ลินและมิวนิค) เป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ ทางด้านอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง และการดูแลสุขภาพ ธุรกิจของบริษัทฯ ครอบคลุมตั้งแต่การจัดการทรัพยากรในโรงงาน การบริหารห่วงโซ่อุปทาน ระบบอาคารอัจฉริยะและระบบโครงข่ายไฟฟ้า ไปจนถึงการขนส่งที่ใช้พลังงานสะอาด และการดูแลสุขภาพขั้นสูง บริษัทฯ พัฒนาเทคโนโลยีด้วยวัตถุประสงค์เพื่อมอบคุณค่าที่แท้จริงแก่ลูกค้า ซีเมนส์ช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมและตลาด เพื่อยกระดับการใช้ชีวิตของคนนับพันล้านโดยผสานโลกความจริงและโลกดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกัน ซีเมนส์เป็นผู้ถือหุ้นหลักในซีเมนส์ เฮลทิเนียร์ส ผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีการแพทย์และบริการดูแลสุขภาพดิจิทัล นอกเหนือจากนั้น ซีเมนส์ยังเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยใน ซีเมนส์ เอนเนอร์ยี่ ผู้นำระดับโลกในด้านการผลิตและนำส่งพลังงานไฟฟ้า

ในปีงบประมาณ 2566 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อ 30 กันยายน 2566 ซีเมนส์มีพนักงาน 320,000 คนทั่วโลก กลุ่มธุรกิจของซีเมนส์สร้างรายได้ 77.8 พันล้านยูโร และมีผลกำไร 8.5 พันล้านยูโร ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.siemens.com

เกี่ยวกับเมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี

เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ กรุ๊ป เอจี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบธุรกิจทั่วโลกของรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ และรถตู้เมอร์เซเดส-เบนซ์ ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 166,000 คนทั่วโลก โดยมี โอล่า คัลเลนเนียส เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทมุ่งเน้นการพัฒนา ผลิต และจำหน่ายรถยนต์ รถตู้ และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ นอกจากนั้น ยังมีเจตนารมณ์ในการเป็นผู้นำของโลกในด้านยานยนต์ไฟฟ้าและซอฟต์แวร์รถยนต์ กลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัทประกอบด้วยแบรนด์เมอร์เซเดส-เบนซ์ และแบรนด์ย่อย เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เมอร์เซเดส-มายบัค จี-คลาส และแบรนด์สมาร์ท โดยมีแบรนด์ Mercedes me ที่นำเสนอการเข้าถึงบริการด้านดิจิทัลจากเมอร์เซเดส-เบนซ์ ทั้งนี้ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์โดยสารระดับลักชัวรีรายใหญ่ที่สุดของโลก 

ในปี 2566 บริษัทฯ จำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลราว 2 ล้านคัน และรถตู้เกือบ 447,800 คัน เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี ขยายเครือข่ายการผลิตใน 2 กลุ่มธุรกิจอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยมีฐานการผลิตมากกว่า 30 แห่งใน 4 ทวีป ควบคู่ไปกับแนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการในด้านยานยนต์ไฟฟ้า ขณะเดียวกัน บริษัทได้พัฒนาเครือข่ายการผลิตแบตเตอรี่ของตัวเองทั่วโลกใน 3 ทวีป การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนล้วนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งทั้งต่อกลยุทธ์ของเมอร์เซเดส-เบนซ์และต่อบริษัท

สำหรับเมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี ความยั่งยืนหมายถึงการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในระยะยาว ทั้งลูกค้า พนักงาน นักลงทุน พันธมิตรทางธุรกิจ และสังคมโดยรวม โดยอาศัยพื้นฐานของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของกลุ่ม เมอร์เซเดส-เบนซ์ กรุ๊ป ซึ่งมุ่งรับผิดชอบต่อผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และสังคม จากกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัท และให้ความสำคัญต่อห่วงโซ่คุณค่าโดยรวม


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซีเมนส์ร่วมมือไมโครซอฟท์ขับเคลื่อนการนำ AI มาใช้ในภาคอุตสาหกรรม

ไมโครซอฟท์ และ ซีเมนส์ ผนึกความร่วมมือต่อเนื่อง นำประสิทธิภาพ Generative AI มาสู่ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยทั้งสองบริษัทฯ เตรียมเปิดตัว Siemens Industrial Copilot ซึ่งเป็นผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่พัฒนาร่วมกัน มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรในภาคการผลิต นอกจากนี้การผนวกซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (หรือ PLM) เข้ากับ Microsoft Teams ยังสนับสนุนการสร้างเมตาเวิร์สในภาคอุตสาหกรรม ลดความซับซ้อนในการทำงานร่วมกันแบบเสมือนจริงให้แก่วิศวกรออกแบบ ผู้ปฏิบัติงานหน้างานและทีมอื่น ๆ ตลอดสายงานธุรกิจ

สัตยา นาเดลลา ประธานและซีอีโอของไมโครซอฟท์ กล่าวว่า “ด้วยศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่นี้ เรามีโอกาสพิเศษในการเร่งสร้างนวัตกรรมให้กับภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด เรากำลังพัฒนาต่อยอดจากความร่วมมือที่ยาวนานกับซีเมนส์ รวบรวมความก้าวหน้าด้าน AI ใน Microsoft Cloud มาผนวกรวมกับความเชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมของซีเมนส์ เพื่อเสริมศักยภาพให้แก่ผู้ปฏิบัติงานหน้างานและพนักงานที่มีทักษะเฉพาะทาง ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังปัญญาประดิษฐ์ โดยเริ่มต้นด้วยโครงการ Siemens Industrial Copilot”

โรแลนด์ บุช ซีอีโอของซีเมนส์ กล่าวว่า “เราและไมโครซอฟท์มีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการส่งเสริมศักยภาพของลูกค้าด้วยการนำ Generative AI มาใช้งาน เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพมหาศาลที่จะปฏิวัติวิธีการที่บริษัทต่าง ๆ ใช้ออกแบบ พัฒนา ผลิตและดำเนินการ ด้วยการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรที่เชื่อมต่อกันในวงกว้างมากขึ้น ช่วยให้เหล่าวิศวกรสามารถเร่งพัฒนาโค้ด เพิ่มนวัตกรรม และรับมือกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะได้”

ยุคใหม่ของการทำงานร่วมกันของมนุษย์และเครื่องจักร

Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง เพิ่มประสิทธิภาพ และแก้ไขโค้ดอัตโนมัติที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว พร้อมลดระยะเวลาการจำลองสถานการณ์ลงอย่างมาก ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยลดงานที่ก่อนหน้านี้ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ให้เหลือเป็นหน่วยนาที โดย Copilot จะนำข้อมูลของระบบอัตโนมัติและกระบวนการการจำลองจากแพลตฟอร์ม Siemens Xcelerator ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิดของซีเมนส์ และเพิ่มประสิทธิภาพด้วย Azure OpenAI Service ของไมโครซอฟท์ โดยลูกค้ายังคงควบคุมข้อมูลตนเองได้ทั้งหมด ระบบจะไม่มีการนำข้อมูลไปใช้กับการฝึกโมเดล AI พื้นฐาน

Siemens Industrial Copilot มีความสามารถเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพครบวงจรในอุตสาหกรรม โดยเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงจะได้รับคำแนะนำการซ่อมแซมอย่างละเอียดด้วยภาษาปกติอย่างเป็นธรรมชาติ ขณะที่วิศวกรจะสามารถเข้าถึงเครื่องมือแบบจำลองได้อย่างรวดเร็ว

เปิดวิสัยทัศน์: Copilots สำหรับทุกอุตสาหกรรม

ทั้งซีเมนส์และไมโครซอฟท์ต่างเล็งเห็นว่า AI Copilots มีความสามารถในการช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมการผลิต โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการดูแลสุขภาพ โดย Copilot จำนวนมากกำลังถูกวางแผนที่จะนำมาใช้ในภาคการผลิต เช่น ยานยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค และการผลิตเครื่องจักร

Schaeffler AG ซัพพลายเออร์ยานยนต์ชั้นนำเป็นหนึ่งในบริษัทรายแรก ๆ ของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่นำ Generative AI ไปใช้ในงานด้านวิศวกรรม ช่วยให้ทีมวิศวกรสามารถพัฒนาโค้ดที่มีความน่าเชื่อถือสำหรับการโปรแกรมระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์ นอกจากนี้ บริษัทฯ เตรียมนำ Siemens Industrial Copilot มาใช้ในระบบการดำเนินงาน โดยวางเป้าหมายเพื่อลดการหยุดชะงักของการทำงาน (Downtime) ของเครื่องจักรอย่างมีนัยสำคัญ และเตรียมพัฒนาขั้นต่อไปสำหรับลูกค้าในภายหลัง

เคลาส์ โรเซนเฟลด์ ซีอีโอของกลุ่มแชฟฟ์เลอร์ กล่าวว่า “เรากำลังก้าวสู่ยุคใหม่ของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและนวัตกรรมในโครงการนำร่องร่วมกันนี้ ซึ่ง Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ทีมงานของเราทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังลดภาระงานซ้ำซ้อน และเพิ่มไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับซีเมนส์และไมโครซอฟท์ในโครงการนี้”

Generative AI เพิ่มความสะดวกการทำงานร่วมกันในแบบเสมือน

เพื่อยกระดับการทำงานร่วมกันแบบเสมือนระหว่างทีม ซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ สำหรับ Microsoft Teams พร้อมเปิดให้ใช้งานได้โดยทั่วไปตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนี้ โดยแอปพลิเคชันนี้จะใช้ศักยภาพล่าสุดของ Generative AI เชื่อมต่อฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ ของวงจรการออกแบบผลิตภัณฑ์และวงจรการผลิต ตั้งแต่ผู้ปฏิบัติงานหน้างานไปจนถึงทีมวิศวกร โดยจะเชื่อมต่อซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (หรือ PLM) เข้ากับ Microsoft Teams ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันของไมโครซอฟท์ เพื่อให้พนักงานในโรงงานและพนักงานภาคสนามสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ สิ่งนี้จะช่วยให้พนักงานหลายล้านคนที่เข้าไม่ถึงเครื่องมือ PLM ในปัจจุบันสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบและผลิตได้ง่ายยิ่งขึ้นเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำวัน

ซีเมนส์จะแบ่งปันรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Siemens Industrial Copilot ที่งาน SPS expo ที่จะจัดขึ้น ณ เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2566


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซีเมนส์ จัดแสดงเทคโนโลยี ระบบไฟฟ้าและโซลูชัน IoT ด้านพลังงาน ที่งาน ASEAN Sustainable Energy Week 2023

ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 1 กันยายน ศกนี้ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ ที่บูธ H9 ฮอลล์ 2

ซีเมนส์มุ่งสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยเดินหน้าสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน โดยนำเทคโนโลยีและโซลูชันอัจฉริยะจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ Siemens Xcelerator มาร่วมจัดแสดงในงาน “ASEAN Sustainable Energy Week 2023”

ภายใต้แนวคิด “Accelerate Transformation Towards Decarbonization and Sustainable Industry”

ซีเมนส์ตั้งเป้าส่งเสริมศักยภาพและสนับสนุนอีโคซิสเต็มส์ในภาคอุตสาหกรรมให้มีความสามารถในการบริหารและจัดการพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงการลดคาร์บอนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องในกระบวนการปฎิบัติงาน

ข้อมูลจากองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (The International Energy Agency: IEA) เผยในปี 2565 ที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมเป็นกลุ่มที่ใช้พลังงานภาพรวมมากที่สุดถึง 37% นอกจากนี้ภาคอุตสาหกรรมยังเผชิญความท้าทายในการเดินหน้าสู่ Net Zero ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงรอบด้านในการดำเนินงาน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจะมีความซับซ้อนในระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่จะมีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในระบบมากขึ้น ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต้องเร่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการต่าง ๆ ให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่า ลดต้นทุน และสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ไปสู่ความยั่งยืนได้

คุณสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ซีเมนส์มุ่งมั่น นำเสนอนวัตกรรม โซลูชันและเทคโนโลยีที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการไปสู่ระบบดิจิทัล พร้อมรับมือกับต้นทุนด้านพลังงาน โดยยึด 3 แกนหลัก ได้แก่ Decrease CAPEX & OPEX, Enhance Efficiency และ Replace with Technology ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีในการเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการเป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน”

ปัจจุบันการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่สร้างความสำเร็จให้กับภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) และ Digital Transformation มีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  ข้อมูลจาก Association of the Industrial Energy and Power Industry ชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมกำลังเผชิญกับความท้าทายในด้านการบริหารและจัดการไฟฟ้า โดย 60% ของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต้องประสบปัญหาไฟฟ้าดับอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี และ 80% ต้องปิดระบบแบบกระทันหัน ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียอย่างรุนแรงต่อโรงงาน นอกจากนี้ 53% ของผู้ผลิตไฟฟ้า ยังต้องทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกันให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าบ่อยครั้ง เนื่องจากขาดการมองเห็นข้อมูลสถานะที่แท้จริงของอุปกรณ์ และ 50% ยังใช้อุปกรณ์จากซัพพลายเออร์ที่ต่างกัน ทำให้ขาดการเชื่อมต่อของข้อมูลเพื่อควบคุมและบริหารจัดการไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้นับเป็นปัญหาสำคัญที่แก้ไม่ตกของการจัดการพลังงานไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

นวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าและโซลูชัน IoT ด้านพลังงานจากซีเมนส์จะสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการและขจัดความท้าทายดังกล่าวได้อย่างครบวงจร โดยโซลูชันและเทคโนโลยีไฮไลท์ที่ซีเมนส์นำมาจัดแสดง ภายในงาน ASEW 2023 ประกอบด้วย

  • โซลูชัน IoT ด้านพลังงานไฟฟ้า (Power IoT solutions) สำหรับภาคอุตสาหกรรม สามารถใช้งานได้ทั้งในโรงไฟฟ้า, สถานีไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรม, สถานีไฟฟ้าย่อยในโรงงาน, ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในนิคมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 

o   Microgrids for Sustainability แอปพลิเคชันไมโครกริดช่วยบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งผลิต/กำเนิด/ส่งไฟฟ้ามากกว่า 2 แหล่ง (สถานีไฟฟ้าทั่วไป ไฟฟ้าพลังน้ำ ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ฯลฯ) ทำให้สามารถใช้แหล่งพลังงานที่คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะที่คงความมีเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า

o   IoT Applications and Cybersecurity แอปพลิเคชัน IoT ที่ช่วยควบคุมและตรวจสอบสถานะอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งแสดงผลข้อมูลและสร้างรายงานดิจิทัลผ่านระบบเซิร์ฟเวอร์ในองค์กร (On-Premises) หรือผ่านระบบคลาวด์ (On-Cloud) ช่วยลดการเกิดไฟดับและการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ทำให้การผลิตมีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังมั่นใจถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ Energy Automation ที่ได้รับการรับรองด้าน Cybersecurity ตามมาตรฐาน IEC 62443-4-1 เป็นแห่งแรกของโลก

o   Smart Power Monitoring and Management แอปพลิเคชันที่ช่วยตรวจสอบและบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าสำหรับตู้ควบคุมระบบจำหน่ายไฟฟ้าหลัก ทำให้ทราบสถานะของอุปกรณ์และระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำภายในโรงงาน จึงสามารถวางแผนใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยวางแผนประหยัดพลังงานและพบกระแสผิดพร่อง(fault)ได้อย่างรวดเร็ว ลดการสูญเสียที่ไม่จำเป็น 

o   Scale Up E-Mobility and Manage Loads แอปพลิเคชันควบคุมสถานีบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ทราบสถานะจุดชาร์จและสามารถควบคุมได้จากระยะไกล ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและซ่อมบำรุง ทำให้จุดชาร์จทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

  • นวัตกรรมสวิตช์เกียร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Medium-Voltage blue GIS) ใช้ก๊าซสะอาด (Clean Air) ปราศจากก๊าซฟลูออรีน (100% F-gas free) ลดการเกิดภาวะโลกร้อน ไม่ต้องบำรุงรักษา ทำให้ระบบจำหน่ายไฟฟ้ามีความยั่งยืน
  • นวัตกรรมระบบบริหารจัดการมอเตอร์อัจฉริยะ (SIMOCODE pro) ติดตั้งภายในตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลักในโรงงาน SIVACON S8 Low-Voltage Switchboard ช่วยให้ทราบสถานะการทำงาน การแจ้งเตือนและตัดวงจรก่อนที่มอเตอร์จะเกิดความเสียหาย ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงมอเตอร์ ช่วยให้การผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
  • สถานีไฟฟ้าย่อยแบบ E-House (คล้ายตู้คอนเทนเนอร์ ที่ภายในมีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นติดตั้งอยู่) จะช่วยลดเวลาในการทำโครงการให้เสร็จเร็วขึ้น สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการขยายตัวด้านโครงการอย่างยั่งยืนและรวดเร็ว โดย E-House สามารถเคลื่อนย้าย ดัดแปลง หรือนำไปใช้งานซ้ำในโครงการใหม่ได้

นอกจากนี้ซีเมนส์ยังได้นำ SICHARGE D เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ DC Charger ประสิทธิภาพสูง ซึ่งได้รับรางวัล iF Design Award 2023 ประเภทยานยนต์ (Automotive) มาจัดแสดงเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

“ภาคอุตสาหกรรมที่กำลังมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำจำเป็นต้องเตรียมพร้อมและมีเทคโนโลยีที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านพลังงาน เพราะนอกจากระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่จะมีความซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต ยังมีความท้าทายในการนำพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เข้ามาใช้ร่วมกันในระบบอย่างเหมาะสม รวมถึงความซับซ้อนของโหลดงานที่มาเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าก็มีบทบาทที่เป็นได้ทั้งผู้บริโภค (Consumer) และผลิตโดยผู้บริโภค (Prosumer) ดังนั้นเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าในอนาคตจึงต้องพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อให้การบริหารจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด มีเสถียรภาพ ยืดหยุ่นต่อการใช้งานที่หลากหลาย และส่งเสริมความยั่งยืน ” คุณสุวรรณี กล่าวสรุป 


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซีเมนส์ ประกาศกลยุทธ์การลงทุน มูลค่า 2 พันล้านยูโร มุ่งสร้างการเติบโต ขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่นในอนาคต

ซีเมนส์ได้นำเสนอกลยุทธ์การลงทุน มูลค่า 2 พันล้านยูโร เพื่อกระตุ้นการเติบโตในอนาคต พร้อมขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่น โดยมุ่งเน้นการลงทุนหลักไปที่การเพิ่มกำลังการผลิต ห้องปฏิบัติการนวัตกรรม ศูนย์การเรียนรู้ และโรงงานใหม่ โดยซีเมนส์ประกาศสร้างโรงงานไฮเทคแห่งใหม่ในสิงคโปร์ เพื่อรองรับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเติบโตอย่างมาก

โรแลนด์ บุช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอของ ซีเมนส์ เอจี กล่าวว่า “เทคโนโลยีของเราตอบสนองแนวโน้มการเติบโตที่แน่นอนในอนาคต หรือ Secular Growth ที่สนับสนุนให้ลูกค้าของเราสามารถแข่งขัน สร้างความยืดหยุ่นและความยั่งยืนได้มากยิ่งขึ้น ซีเมนส์กำลังเติบโตในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดอย่างมีนัยสำคัญ และล่าสุดเราประกาศกลยุทธ์การลงทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโตในอนาคต เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่น”

“การลงทุนนี้สนับสนุนกลยุทธ์ของเราในการผสานโลกจริงและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน การมุ่งเน้นการกระจายธุรกิจและธุรกิจท้องถิ่นต่อท้องถิ่น (Local-for-Local Business) การขยายฐานที่ตั้งเพิ่ม Global Presence เพื่อรองรับการเติบโตในตลาดสำคัญ”

ในปีงบประมาณ ค.ศ. 2023 บริษัทฯ คาดว่าจะเพิ่มงบประมาณการวิจัยและพัฒนาอีกประมาณห้าร้อยล้านยูโรเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งจะเน้นในด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และ

เมตาเวิร์สภาคอุตสาหกรรม (Industrial Metaverse) การวิจัยและพัฒนานี้มุ่งเสริมความแข็งแกร่งในความเป็นผู้นำของซีเมนส์ในเทคโนโลยีหลักๆ ซึ่งรวมถึง Simulation, Digital Twins, Artificial Intelligence หรือ Power Electronics พร้อมสนับสนุน Siemens Xcelerator  ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิดของบริษัทฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทได้ประกาศความร่วมมือกับ Microsoft เพื่อเร่งการสร้างโค้ดสำหรับระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมโดยใช้ ChatGPT และซีเมนส์ยังกำลังทำงานร่วมกับ NVIDIA เพื่อสร้างเมตาเวิร์สภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาการออกแบบ การวางแผน การผลิต และการดำเนินงานของโรงงานและโครงสร้างพื้นฐาน

กำลังการผลิตใหม่และเพิ่มเติมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซีเมนส์ได้ประกาศสร้างโรงงาน ไฮเทคแห่งใหม่ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งโรงงานแห่งนี้จะได้รับการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยี Digital Twin พร้อมนวัตกรรมฮาร์ดแวร์อัจฉริยะของซีเมนส์ โดยใช้งบลงทุนประมาณ 200 ล้านยูโร โรงงานแห่งใหม่ นี้จะกำหนดมาตรฐานใหม่ของการเชื่อมต่อเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยี ดิจิทัลมาเพิ่มศักยภาพรวมถึงการใช้กระบวนการผลิตอัตโนมัติขั้นสูง และการลงทุนนี้ยังสร้างงาน มากกว่า 400 ตำแหน่ง

กลยุทธ์มุ่งเน้นทุกภูมิภาคด้วยแผนการลงทุนทั่วโลก

อีกส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การลงทุนเพื่อรองรับธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศจีน ซีเมนส์จะขยายโรงงานดิจิทัลในเฉิงตู เพื่อรองรับโอกาสการเติบโตในท้องถิ่นของจีนในแบบ in China for China ด้วยการลงทุน 140 ล้านยูโร (1.1 พันล้านหยวน) สร้างงานใหม่ 400 ตำแหน่ง ลูกค้าในประเทศจีนของซีเมนส์จำนวนมากอยู่ในกลุ่ม Early Adopters ในการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีดิจิทัลและการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นี่คือเหตุผลที่ซีเมนส์ประกาศการลงทุนในศูนย์นวัตกรรมวิจัยและพัฒนาแบบดิจิทัลแห่งใหม่ในเซินเจิ้น เพื่อเร่งการพัฒนาระบบควบคุมการเคลื่อนไหวด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและ Power Electronics โดยแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิด Siemens Xcelerator เปิดตัวในประเทศจีนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022

การประกาศการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

ซีเมนส์มีความมุ่งมั่นที่จะขยายการผลิตในเมือง Trutnov ในประเทศสาธารณรัฐเช็ก เพื่อขยายกำลังการผลิตของโรงงานของบริษัทฯ ที่เมือง Amberg ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่าย WEF Global Lighthouse(1) นอกจากนี้ซีเมนส์ยังลงทุนอีก 30 ล้านยูโรเพื่อขยายโรงงานสวิตช์เกียร์ที่ Frankfurt-Fechenheim ในประเทศเยอรมนี ขณะที่ ซีเมนส์ โมบิลิตี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ประกาศการลงทุน 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสร้างโรงงานผลิตตู้รถไฟแห่งใหม่ในเมืองเล็กซิงตัน รัฐนอร์ทแคโรไลนา เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับรถไฟโดยสารในสหรัฐอเมริกา โดยโรงงานแห่งนี้จะสร้างงานมากกว่า 500 ตำแหน่งภายในปี ค.ศ. 2028

แผนการลงทุนมูลค่า 2 พันล้านยูโร และอีกประมาณห้าร้อยล้านยูโรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสำหรับการวิจัยและพัฒนานั้นรวมถึงการลงทุนใน ซีเมนส์ เฮลท์ธิเนียร์ส


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซีเมนส์ ร่วมดัน Digital Transformation สำหรับภาคอุตสาหกรรม นำเทคโนโลยีมุ่งเน้นความยั่งยืนระดับโลกมาจัดแสดงในงาน ProPak Asia 2023

ซีเมนส์ประกาศสนับสนุน Digital Transformation สำหรับภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเน้นความยั่งยืน โดยในปีงบประมาณ 2565 ของบริษัทฯ ผลิตภัณฑ์และโซลูชันของซีเมนส์ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึงประมาณ 150 ล้านตัน ท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจ ปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมุ่งหน้านำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงปลายทางที่เป็นผู้ประกอบการ โดยสอดรับกับแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยึดหลัก “Sustainability” เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

ด้วยปริมาณประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มถือว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งทางด้านการผลิตและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยจากสถิติ 30% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกเกิดจากการผลิตและบรรจุอาหาร(1) และ 70% ของปริมาณน้ำจืดบนโลกถูกใช้โดยอุตสาหกรรมอาหาร(2)  สำหรับประเทศไทยอุตสาหกรรมอาหารรวมถึงเครื่องดื่มยังเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม โดยจากข้อมูลของ Statista ระบุ ณ เดือนมีนาคม 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศไทยอยู่ใน อันดับที่ 3 (119.17 จุด) รองจากกลุ่มเภสัชภัณฑ์และยาเตรียม (132.28 จุด) และอันดับ 1 คือกลุุ่มเครื่องจักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม (142 จุด)

โดยภายในงาน ProPak Asia 2023 ซีเมนส์นำนวัตกรรมและโซลูชันล้ำสมัยที่จะช่วยเร่ง Digital Transformation สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม แบบ End-to-End ช่วยให้สามารถผลิตได้มากขึ้น เร็วขึ้น มีความยืดหยุ่นพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ใช้ทรัพยากรน้อยลง และยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยีและโซลูชันไฮไลท์ของซีเมนส์ที่จัดแสดง ในงาน ProPak Asia 2023 (ณ บูธ N21) ได้แก่ 

  • โซลูชันการเกษตรแนวตั้ง (Vertical Farming) พลิกโฉมอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสู่ความยั่งยืน ที่สามารถลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ (End-to-End) โดยประหยัดน้ำได้ถึง 95% เทียบกับการทำเกษตรทั่วไป เพิ่มผลผลิตได้มากกว่า 300 เท่าต่อตารางฟุต ลดคาร์บอนฟุตปริ้นตั้งแต่ฟาร์มจนถึงโต๊ะกินข้าวและก่อให้เกิดขยะน้อยกว่า ที่สำคัญใช้พลังงานหมุนเวียน 100% และไม่มียากำจัดศัตรูพืช
  • ซอฟต์แวร์ Opcenter APS สำหรับวางแผนและจัดตารางการผลิต เนื่องด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนการผลิตในปัจจุบันมีความหลากหลายซึ่งบ่อยครั้งทำให้เกิดความผิดพลาด ทั้งยังยากในการปรับเปลี่ยน ส่งกระทบต่อผลผลิต และการส่งมอบสินค้า ซอฟต์แวร์ OpCenter APS ช่วยลดความซับซ้อน เพิ่มผลผลิต ลดปริมาณสินค้าคงคลังลดลง และเพิ่มความสามารถในการส่งมอบสินค้า โดย Opcenter APS สามารถเป็นนวัตกรรมเริ่มต้นสำหรับ Digital Transformation ของทุกองค์กรในภาคการผลิต
  • โซลูชัน Industrial 5G wireless networks ที่ออกแบบสำหรับอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ด้วยการเชื่อมต่อความเร็วสูงที่มีความหน่วงในการส่งข้อมูลต่ำในระดับ 1 มิลลิวินาที มีความเสถียรและปลอดภัยสูง ช่วยรองรับการใช้แอปพลิเคชันอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์เคลื่อนที่  (Mobile Robots), การขนส่งอัตโนมัติ (Autonomous Logistics) หรือรถลำเลียงสินค้าที่ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ  (Automated Guided Vehicles or AGVs) และเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ เซ็นเซอร์ และระบบการทำงานทั้ง Information Technology (IT) และ Operation Technology (OT) ให้ลื่นไหลไร้รอยต่อ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ สนับสนุน massive Machine-Type Communications (mMTC) ซึ่งทำให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ IoT จำนวนมากได้ เพื่อการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น

ซีเมนส์ได้กําหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล (ESG) ไว้ในกรอบกลยุทธ์เฟรมเวิร์ก “DEGREE” เน้นดำเนินการใน 6 ด้าน คือ D – Decarbonization การลดปริมาณคาร์บอน E – Ethics จริยธรรม G – Governance บรรษัทภิบาล R – Resource Efficiency การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ E- Equity ความเสมอภาค และ E- Employability การจ้างงาน ครอบคลุมการดำเนินงานในทุกมิติ และบริษัทฯ พร้อมร่วมผลักดันภาคอุตสาหกรรมไทยให้เดินหน้าไปสู่ความยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 ด้วยการขับเคลื่อนของเทคโนโลยีและนวัตกรรม


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซีเมนส์และไมโครซอฟท์ ร่วมขับเคลื่อนศักยภาพภาคอุตสาหกรรมผ่านเทคโนโลยี Generative AI

กรุงเทพฯ ประเทศไทย | 24 เมษายน 2566 — ซีเมนส์และไมโครซอฟท์ร่วมมือดึงศักยภาพเทคโนโลยี Generative AI มาช่วยธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้สามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ขับเคลื่อนนวัตกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพ ตั้งแต่การออกแบบ กระบวนการด้านวิศวกรรม การผลิต รวมถึงการดำเนินงานในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ

โดยหลายบริษัทกำลังนำซอฟต์แวร์ Teamcenter® ของซีเมนส์ซึ่งเป็นโซลูชันทางด้านการจัดการวงจรผลิตภัณฑ์ (Product Lifecycle Management หรือ PLM) ไปทำงานร่วมกับ Teams ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการทำงานร่วมกันของไมโครซอฟท์ และใช้โมเดลภาษาใน Azure OpenAI Service รวมไปถึงความสามารถทางด้านอื่น ๆ ของ Azure AI

ที่งานแสดงสินค้าทางเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก – Hannover Messe ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไป ซีเมนส์และไมโครซอฟท์แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี Generative AI สามารถช่วยยกระดับระบบอัตโนมัติและการดำเนินงานภายในโรงงาน ผ่านการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ การรายงานปัญหาและการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากการประมวลผลข้อมูลรูปภาพ

สก็อตต์ กูทรี รองประธานบริหารด้านเทคโนโลยีคลาวด์และ AI ของไมโครซอฟท์ กล่าวว่า “การผสานรวมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ากับแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีต่าง ๆ จะเปลี่ยนวิถีการทำงานและวิธีดำเนินงานของทุกธุรกิจไปอย่างสิ้นเชิง การร่วมมือกับซีเมนส์ทำให้เราสามารถนำศักยภาพของ AI ไปใช้ในองค์กรอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งช่วยลดขั้นตอนที่ซับซ้อนของกระบวนการดำเนินงาน ทำลายกำแพงการทำงานแบบไซโล เพิ่มการทำงานร่วมกันอย่างเปิดกว้างมากขึ้น เพื่อเร่งพัฒนานวัตกรรมที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง”

แอปพลิเคชั่นสำหรับการทำงานร่วมกันที่ขับเคลื่อนด้วย AI เชื่อมต่อการทำงานระหว่างพนักงานในส่วนการผลิตกับส่วนอื่น ๆ

ด้วยศักยภาพของแอปฯ ใหม่ใน Teamcenter สำหรับ Microsoft Teams ที่คาดว่าจะเปิดตัวในปีนี้ จะช่วยให้วิศวกรด้านการออกแบบ พนักงานส่วนหน้างาน และทีมอื่น ๆ ในองค์กรสามารถทำงานและแก้ปัญหาร่วมกันได้อย่างราบรื่นขึ้น ตัวอย่างเช่น วิศวกรฝ่ายบริการหรือฝ่ายผลิตสามารถใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่จดบันทึกและรายงานเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือข้อกังวลด้านคุณภาพโดยใช้ภาษาพูด ด้วยความสามารถของ Azure OpenAI Service แอปฯ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลคำพูดที่ไม่เป็นทางการ สร้างรายงานสรุปโดยอัตโนมัติและบันทึกเข้าสู่ระบบ Teamcenter เพื่อแจ้งไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบทางด้านวิศวกรรมหรือทางด้านการผลิตได้อย่างเหมาะสม เพื่อสนับสนุนให้การมีส่วนร่วมเป็นไปได้อย่างง่ายดายขึ้น พนักงานจะสามารถบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ในภาษาพูด ที่จะได้รับการแปลเป็นภาษาทางการที่ใช้ภายในบริษัทด้วย Microsoft Azure AI โดย Microsoft Teams

นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ใช้งานง่าย อาทิ การแจ้งเตือนเพื่อลดความซับซ้อนของการอนุมัติในกระบวนการทำงาน ลดเวลาที่ใช้ในการร้องขอการเปลี่ยนแปลงด้านการออกแบบ และเพิ่มความเร็วของวงจรนวัตกรรม แอปฯ Teamcenter สำหรับ Microsoft Teams สามารถช่วยให้พนักงานหลายล้านคนที่ไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือ PLM ในปัจจุบัน สามารถส่งข้อมูลผลกระทบด้านการออกแบบและกระบวนการผลิตได้ง่ายขึ้นโดยจะเป็นส่วนหนึ่งของเวิร์กโฟลว์การทำงานที่มีอยู่

วิศวกรรมซอฟต์แวร์อัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย AI ช่วยให้โรงงานดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

ซีเมนส์และไมโครซอฟท์ยังร่วมมือกันเพื่อช่วยนักพัฒนาซอฟต์แวร์และวิศวกรระบบอัตโนมัติเพิ่มความเร็วในการพัฒนาโค้ดสำหรับ Programmable Logic Controllers (PLC) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ในระดับอุตสาหกรรมที่ควบคุมเครื่องจักรส่วนใหญ่ในโรงงานทั่วโลก โดยได้สาธิตให้เห็นแนวคิดว่า ChatGPT ของ OpenAI และ Azure AI Service อื่น ๆ จะสามารถส่งเสริมโซลูชันวิศวกรรมระบบอัตโนมัติในทางอุตสาหกรรมของซีเมนส์ได้อย่างไร ซึ่งการสาธิตแสดงให้เห็นว่าทีมวิศวกรสามารถลดเวลาและความน่าจะเป็นของข้อผิดพลาดได้อย่างมาก โดยการสร้างรหัส PLC ผ่านการป้อนข้อมูลด้วยภาษาที่ใช้สื่อสารโดยทั่วไป (Natural Language) ซึ่งความสามารถเหล่านี้ยังช่วยให้ทีมบำรุงรักษาสามารถระบุข้อผิดพลาดและสร้างโซลูชันของแต่ละขั้นตอนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

เซดริค ไนเค กรรมการบริหาร ซีเมนส์ เอจี (Siemens AG) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ Digital Industries กล่าวว่า  “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูงและทรงพลังที่กำลังเกิดขึ้นเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ซีเมนส์และไมโครซอฟท์ร่วมมือกันเพื่อปรับใช้เครื่องมืออย่าง ChatGPT เพื่อให้เราสามารถสนับสนุนพนักงานในองค์กรทุกขนาดให้ใช้วิธีใหม่ในการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ”

ค้นหาและป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในผลิตภัณฑ์ด้วย Industrial AI

การตรวจพบข้อบกพร่องในการผลิตได้ตั้งแต่แรกเริ่ม เป็นเรื่องสำคัญเพื่อป้องกันการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เชิงอุตสาหกรรม (หรือ Industrial AI) ตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision) เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลภาพ ช่วยให้ทีมงานควบคุมคุณภาพทำงานได้เร็วขึ้น ระบุความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น และปรับเปลี่ยนได้แบบเรียลไทม์ได้เร็วยิ่งขึ้น ที่งาน Hannover Messe ทีมงานได้สาธิตถึงวิธีการใช้ Microsoft Azure Machine Learning และ Siemens’ Industrial Edge วิเคราะห์ภาพที่ถ่ายด้วยกล้องและวิดีโอ เพื่อนำมาสร้าง ปรับใช้ ทำงาน และตรวจสอบโมเดลการมองเห็นของเทคโนโลยีเอไอ (AI Vision Model) ในพื้นที่การผลิต

ความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ที่ยาวนานกว่า 35 ปีระหว่างซีเมนส์และไมโครซอฟท์ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกับลูกค้าหลายพันราย และทั้งสองบริษัทยังมีความร่วมมือกันในด้านอื่น ๆ อาทิ การพัฒนาโซลูชัน Senseye on Azure ที่ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถดำเนินงานด้านการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (Predictive Maintenance) ในระดับองค์กร พร้อมสนับสนุนลูกค้าที่ต้องการโฮสต์แอปพลิเคชันทางธุรกิจของตนไว้ใน Microsoft Cloud เพื่อใช้โซลูชันต่าง ๆ จาก Siemens Xcelerator ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิดของซีเมนส์ รวมถึงแอปฯ Teamcenter บน Azure นอกจากนี้ซีเมนส์ยังร่วมมือกับไมโครซอฟท์ในการเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ด้าน Zero Trust


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซีเมนส์ โชว์เทคโนโลยีการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดเพื่อผลักดันความเป็นกลางทางคาร์บอน ในงาน SETA 2022 และ Enlit Asia

20 กันยายน 2565 – พลังงานไฟฟ้าคือหัวใจหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ความต้องการใช้ไฟฟ้ามีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ทั่วโลกต้องการแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน ในราคาเหมาะสมและเชื่อถือได้ ซีเมนส์สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างต่อเนื่องไปสู่ระบบพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเน้นความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

ภายในงาน SETA 2022 และ Enlit Asia ที่จัดขึ้นในพื้นที่เดียวกันนี้ ซีเมนส์ได้นำเสนอนวัตกรรมล่าสุดเพื่อช่วยผู้ให้บริการด้านสาธารณูปโภค ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ องค์กรที่ดำเนินงานด้านวิศวกรรม การจัดซื้อ และการก่อสร้าง (EPC) และพันธมิตรในอุตสาหกรรมพลังงาน เปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

เทคโนโลยีและโซลูชันของซีเมนส์ที่จัดแสดง ในงาน SETA 2022 (ณ บูธ C02)

โซลูชันการจัดการไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคตพลังงานปลอดคาร์บอน

  • Intelligent Microgrid Control with maximum flexibility: ระบบการจัดการพลังงานจากแหล่งจ่ายพลังงานหลากหลายที่สามารถรวมเข้ากับระบบควบคุมที่มีอยู่เดิมได้อย่างราบรื่นและปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย แต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานตามความต้องการใช้ไฟฟ้า ประสิทธิภาพของระบบ หรือต้นทุนการผลิตไฟฟ้า
  • blue Gas-insulated Switchgear (GIS) : 100% sustainable performance: นวัตกรรมสวิตช์เกียร์ที่มาพร้อมระบบดิจิทัล มีขนาดเล็ก ไม่ต้องบำรุงรักษา และที่สำคัญคือปราศจากสารฟลูออรีนที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยนวัตกรรม blue GIS ของซีเมนส์ช่วยสนับสนุนให้เกิดระบบจำหน่ายไฟฟ้าอย่างยั่งยืนเต็มประสิทธิภาพ
  • Energy Intelligence with Internet of Things (IoT): นวัตกรรมแอปพลิเคชัน IoT ที่ช่วยสนับสนุนให้ระบบจัดจำหน่ายไฟฟ้ามีความเป็นดิจิทัล อาทิ NXpower Monitor สำหรับใช้ในการตรวจสอบและแสดงข้อมูลพลังงานไฟฟ้าแบบเสมือนจริงได้จากทุกที่ทั่วโลกตลอด 24/7 และแอปพลิเคชันบนคลาวด์ SIPROTEC dashboard สำหรับให้ผู้ปฎิบัติงานในสถานีไฟฟ้าตรวจสอบอุปกรณ์รีเลย์ป้องกันที่เชื่อมต่ออุปกรณ์จากหลากหลายแหล่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีและโซลูชันของซีเมนส์ที่จัดแสดง ในงาน Enlit Asia (ณ บูธ 401)

ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ RUGGEDCOM สำหรับการสื่อสารของสถานีไฟฟ้าดิจิทัลที่มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้

  • Rugged communications for electric power systems: อุปกรณ์เครือข่ายที่มีความทนทาน ถูกออกแบบให้เชื่อมต่อกับเครือข่ายสำรองแบบไร้รอยต่อ และมีความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบองค์รวมสำหรับการสื่อสารที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้สำหรับสถานีไฟฟ้าดิจิทัล (ได้แก่ อุปกรณ์ที่ผ่านการรับรองในตระกูล IEC 61850-3)
  • Rugged communications for harsh environments: สวิตช์ High-Port Density ที่ถูกออกแบบและทดสอบภายใต้สภาพแวดล้อมที่รุนแรงสูงสุด สามารถปกป้องการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าขั้นสูง ไฟกระชากที่รุนแรง อุณหภูมิและความชื้นแบบสุดขั้ว โดยสวิตช์ RUGGEDCOM ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมจนเป็นที่ยอมรับและมีประสิทธิภาพเหนือชั้นกว่าสำหรับใช้กับภารกิจที่สำคัญยิ่งยวดขององค์กร โดยผู้ให้บริการโครงข่ายไฟฟ้ายังสามารถออกแบบรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ  หรือ โทโพโลยีเครือข่าย (Network Topologies) ที่ป้องกันความเสียหายผิดพลาด เพื่อเพิ่มระยะเวลาทำงานของเครือข่ายได้อย่างสูงสุด
  • Cybersecurity for critical infrastructure: RUGGEDCOM industrial PC สามารถใช้ซอฟต์แวร์ชั้นนำของอุตสาหกรรมในการตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ Grid Edge ซึ่งเป็นการนำความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นสูงมาสู่สภาพแวดล้อมแบบสาธารณูปโภค

Industrial 5G solutions for energy distribution and transmission: ที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษสำหรับการใช้แอปพลิเคชันในสภาพแวดล้อมที่มีความต้องการสูง เช่น การจำหน่ายและส่งไฟฟ้า เราเตอร์  Industrial 5G จากซีเมนส์มีความหน่วงต่ำและมีแบนด์วิดธ์สูงเป็นพิเศษ และสามารถเชื่อมต่ออย่างปลอดภัยผ่านเครือข่าย 5G สาธารณะที่ล้ำสมัยไปยังสถานีจำหน่ายไฟฟ้าที่อยู่ห่างไกล

ภายในงาน Enlit Asia ซีเมนส์ยังสาธิตวิธีป้องกันระบบที่ใช้ควบคุมเครื่องจักรในอุตสาหกรรมต่าง ๆ (หรือ ICS) ด้วยการร่วมมือกับ Fortinet และ Nozomi Networks รวมถึงการเชื่อมต่อไร้สาย 5G ที่มีแนวทางความปลอดภัยแบบ Zero Trust สำหรับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ

เกี่ยวกับซีเมนส์

ซีเมนส์ เอจี (เบอร์ลินและมิวนิค) เป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ ทางด้านอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง และการดูแลสุขภาพ ธุรกิจของบริษัทฯ ครอบคลุมตั้งแต่การจัดการทรัพยากรในโรงงาน การบริหารห่วงโซ่อุปทาน ระบบอาคารอัจฉริยะและระบบโครงข่ายไฟฟ้า ไปจนถึงการขนส่งที่ใช้พลังงานสะอาด และการดูแลสุขภาพขั้นสูง บริษัทฯ พัฒนาเทคโนโลยีด้วยวัตถุประสงค์เพื่อมอบคุณค่าที่แท้จริงแก่ลูกค้า ซีเมนส์ช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมและตลาด เพื่อยกระดับการใช้ชีวิตของคนนับพันล้านโดยผสานโลกความจริงและโลกดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกัน ซีเมนส์เป็นผู้ถือหุ้นหลักในซีเมนส์ เฮลทิเนียร์ส ผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีการแพทย์และบริการดูแลสุขภาพดิจิทัล นอกเหนือจากนั้น ซีเมนส์ยังเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยใน ซีเมนส์ เอนเนอร์ยี่ ผู้นำระดับโลกในด้านการผลิตและนำส่งพลังงานไฟฟ้า


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซีเมนส์จับมือเอ็นวิเดีย ขับเคลื่อนเมตาเวิร์สภาคอุตสาหกรรม

โรแลนด์ บุช ซีอีโอของซีเมนส์ และเจนเซ่น หวง ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของเอ็นวิเดีย ที่งานเปิดตัว Siemens Xcelerator เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ที่เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี

7 กรกฎาคม 2565 – ซีเมนส์ (Siemens) ผู้นำระบบอัตโนมัติและซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีอาคาร และการคมนาคมขนส่ง และเอ็นวิเดีย (NVIDIA) ผู้บุกเบิกเทคโนโลยีกราฟิกเร่งความเร็วและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ประกาศขยายความร่วมมือเพื่อรองรับเมตาเวิร์สภาคอุตสาหกรรม และเพิ่มการใช้งานเทคโนโลยี Digital Twin ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งจะช่วยยกระดับระบบอัตโนมัติภาคอุตสาหกรรมไปสู่มาตรฐานใหม่

สำหรับก้าวแรกของความร่วมมือในครั้งนี้ บริษัททั้งสองมีแผนที่จะเชื่อมต่อ Siemens Xcelerator ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิด เข้ากับ NVIDIA Omniverse™ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการออกแบบ 3D และการทำงานร่วมกัน  โดยการเชื่อมต่อดังกล่าวจะช่วยรองรับเมตาเวิร์สในภาคอุตสาหกรรมที่ประกอบด้วยแบบจำลองดิจิทัลที่อ้างอิงหลักการทางฟิสิกส์จากซีเมนส์ และระบบ AI แบบเรียลไทม์จากเอ็นวิเดีย ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถดำเนินการตัดสินใจในเรื่องธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและมีความมั่นใจมากขึ้น

การเพิ่ม Omniverse ไว้ในระบบนิเวศพันธมิตรแบบเปิดของ Siemens Xcelerator จะช่วยกระตุ้นการใช้งาน Digital Twin ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิผลการทำงานและปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมถึงการจัดการผลิตภัณฑ์ได้อย่างครบวงจร องค์กรธุรกิจทุกขนาดจะสามารถใช้ Digital Twin ร่วมกับข้อมูลการทำงานแบบเรียลไทม์ สร้างนวัตกรรมโซลูชั่น IoT ภาคอุตสาหกรรม ใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่เครือข่ายเอดจ์หรือคลาวด์ และตอบโจทย์ความท้าทายด้านวิศวกรรมในอนาคต โดยทำให้การเข้าถึงแบบจำลองเสมือนจริงที่มีรายละเอียดสูงเป็นไปได้ง่ายขึ้น

โรแลนด์ บุช ซีอีโอของซีเมนส์ กล่าวว่า “แบบจำลอง Digital Twin ที่อ้างอิงหลักฟิสิกส์และมีความเสมือนจริงในเมตาเวิร์สภาคอุตสาหกรรม จะช่วยเพิ่มศักยภาพมหาศาลในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างโลกเสมือนที่ผู้คนสามารถโต้ตอบและทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกจริง  ภายใต้ความร่วมมือนี้ เราจะสร้างเมตาเวิร์สภาคอุตสาหกรรมสำหรับบริษัททุกขนาด  ตลอดช่วงเวลากว่าหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยี Digital Twin ของเราช่วยให้ลูกค้าในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิผลการทำงาน และเป็น Digital Twin ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดในแวดวงอุตสาหกรรมในวันนี้ เมื่อ Siemens Xcelerator ถูกเชื่อมต่อกับ Omniverse เราจะสามารถสร้างเมตาเวิร์สแบบเรียลไทม์ที่สมจริง โดยเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เข้าด้วยกัน มีความครอบคลุมตั้งแต่เครือข่ายเอดจ์ไปจนถึงคลาวด์ ด้วยข้อมูลที่ละเอียดรอบด้านจากซอฟต์แวร์และโซลูชั่นของซีเมนส์”

เจนเซ่น หวง ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของเอ็นวิเดีย กล่าวว่า “ซีเมนส์และเอ็นวิเดียมีวิสัยทัศน์ร่วมกันว่า

เมตาเวิร์สภาคอุตสาหกรรมจะช่วยขับเคลื่อน digital transformation อย่างเป็นรูปธรรม  และนี่เป็นเพียงก้าวแรกในความพยายามร่วมกันของเราที่จะทำให้วิสัยทัศน์ดังกล่าวเป็นจริงสำหรับลูกค้าของเรา รวมถึงทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก การเชื่อมต่อเข้ากับ Siemens Xcelerator จะช่วยให้ระบบนิเวศ Omniverse และ AI ของเอ็นวิเดียเปิดไปสู่โลกใหม่ของระบบอัตโนมัติภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยใช้โซลูชั่นด้านเครื่องจักรกล, ไฟฟ้า, ซอฟต์แวร์, IoT และ เอดจ์ของซีเมนส์”

ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการผสานรวมเทคโนโลยีและระบบนิเวศที่เกื้อหนุนกัน เพื่อสร้างเมตาเวิร์สสำหรับภาคอุตสาหกรรม  ซีเมนส์มีความพร้อมอย่างมากในการเชื่อมโยงโลกแห่งความเป็นจริงและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน กล่าวคือเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีส่วนปฏิบัติการ (OT)  ซึ่งแพลตฟอร์ม Siemens Xcelerator เชื่อมต่อโดเมนต่าง ๆ ทั้งในส่วนของเครื่องจักรกล ไฟฟ้า และซอฟต์แวร์ โดยครอบคลุมกระบวนการผลิตและการจัดการผลิตภัณฑ์อย่างครบวงจร และรองรับการผนวกรวม IT และ OT เข้าด้วยกัน

NVIDIA Omniverse เป็นโลกเสมือนจริงที่ขับเคลื่อนด้วย AI โดยมีการสร้างแบบจำลองตามหลักฟิสิกส์ ครอบคลุมขอบเขตระดับอุตสาหกรรม และถือเป็นการเปิดใช้งานแบบจำลอง Digital Twin  ที่มีความแม่นยำสูงสุดเป็นครั้งแรก ส่วน NVIDIA AI ซึ่งถูกใช้งานโดยบริษัทต่าง ๆ กว่า 25,000 บริษัททั่วโลก เป็นเครื่องมืออัจฉริยะของ Omniverse บนคลาวด์และระบบอัตโนมัติที่เครือข่ายเอดจ์ NVIDIA Omniverse และ AI เป็นเครื่องมือในการประมวลผลที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการแสดงผลแบบจำลอง Digital Twin ที่ครบถ้วนสมบูรณ์จาก Siemens Xcelerator


เกี่ยวกับเอ็นวิเดีย

นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทฯ ขึ้นในปี พ.ศ. 2536 เอ็นวิเดีย (NASDAQ: NVDA) คือผู้บุกเบิกด้านการเร่งความเร็วของการประมวลผล บริษัทฯ เริ่มพัฒนานวัตกรรมกราฟิก (GPU) เมื่อ พ.ศ.2542 และสร้างการเติบโตของตลาดเกมพีซี พร้อมเป็นผู้กำหนดนิยามใหม่ให้กับวงการคอมพิวเตอร์กราฟิกและจุดประกายให้กับ AI ยุคใหม่ ปัจจุบัน เอ็นวิเดีย เป็นบริษัทประมวลผลแบบ Full Stack ที่นำเสนอโซลูชั่นระดับศูนย์ข้อมูลที่กำลังพลิกโฉมอุตสาหกรรม ข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://nvidianews.nvidia.com/

เกี่ยวกับซีเมนส์

ซีเมนส์ เอจี (เบอร์ลินและมิวนิค) เป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ ทางด้านอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง และการดูแลสุขภาพ ธุรกิจของบริษัทฯ ครอบคลุมตั้งแต่การจัดการทรัพยากรในโรงงาน การบริหารห่วงโซ่อุปทาน ระบบอาคารอัจฉริยะและระบบโครงข่ายไฟฟ้า ไปจนถึงการขนส่งที่ใช้พลังงานสะอาด และการดูแลสุขภาพขั้นสูง บริษัทฯ พัฒนาเทคโนโลยีด้วยวัตถุประสงค์เพื่อมอบคุณค่าที่แท้จริงแก่ลูกค้า ซีเมนส์ช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมและตลาด เพื่อยกระดับการใช้ชีวิตของคนนับพันล้านโดยผสานโลกความจริงและโลกดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกัน ซีเมนส์เป็นผู้ถือหุ้นหลักในซีเมนส์ เฮลทิเนียร์ส ผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีการแพทย์และบริการดูแลสุขภาพดิจิทัล นอกเหนือจากนั้น ซีเมนส์ยังเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยใน ซีเมนส์ เอนเนอร์ยี่ ผู้นำระดับโลกในด้านการผลิตและนำส่งพลังงานไฟฟ้า

ในปีงบประมาณ 2564 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อ 30 กันยายน 2564 ซีเมนส์มีพนักงาน 303,000 คนทั่วโลก กลุ่มธุรกิจของซีเมนส์สร้างรายได้ 62.3 พันล้านยูโร และมีผลกำไร 6.7 พันล้านยูโร ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.siemens.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซีเมนส์ขับเคลื่อน Smart City แห่งอนาคต ด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำใน “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ”

* ถึงแม้จะถูกจัดขึ้นในปี 2021 งานนี้ยังคงใช้ชื่อ “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ”

  • งาน “เอ็กซ์โป2020 ดูไบ” ใช้เทคโนโลยีด้านอาคารอัจฉริยะจากซีเมนส์ซึ่งถูกขับเคลื่อนและรวมไว้บนแพลตฟอร์มการบริการ IoT ภาคอุตสาหกรรม MindSphere
  • อาคารมากกว่า130 แห่งจะเชื่อมต่อและสื่อสารกันผ่าน Siemens Navigator แพลตฟอร์มบนคลาวด์สำหรับวิเคราะห์การใช้พลังงานเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร
  • อาคารต่าง ๆ ในสามโซนหลัก (Thematic Districts)ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยระบบการจัดการอาคารอัจฉริยะ Desigo CC
  • โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลจะช่วยสนับสนุนการจัดงานเอ็กซ์โป2020 ดูไบ ให้ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายครอบคลุมในด้านความยั่งยืน ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และการรักษา ความปลอดภัย

30 กันยายน 2564 – เป็นเวลากว่า 170 ปีที่งาน World Expo ถูกจัดขึ้นเพื่อแสดงนวัตกรรมที่เปลี่ยนวิถีความเป็นอยู่ของผู้คนมาจนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ที่จะสานต่อความยิ่งใหญ่ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดจากทั่วทุกมุมโลก ซีเมนส์ได้มีส่วนร่วมในงาน World Expo ตั้งแต่การจัดแสดงโทรเลขไฟฟ้าแบบเข็ม (Pointer Telegraph) ในงานครั้งแรก ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ.1851 และในงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ครั้งนี้ ซีเมนส์ได้แสดงนวัตกรรมต้นแบบ (Blueprint) สำหรับเมืองอัจฉริยะ โดยการนำเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัยที่สุดมาใช้ในการจัดการงาน World Expo 2020 Dubai

งานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 จะเป็นหนึ่งในงานเอ็กซ์โปที่มีการเชื่อมต่อที่เน้นเรื่องความยั่งยืนหรือนวัตกรรมสีเขียวมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และยังเป็นหนึ่งในงานที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีทางอาคารของซีเมนส์ครั้งใหญ่ที่สุดในโลก อาทิ ดิจิทัลโซลูชั่นเพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อ ตรวจสอบ และควบคุมอาคารผ่าน MindSphere ระบบปฏิบัติการบนคลาวด์สำหรับ IoT ซึ่งจะทำให้การวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจและปฏิบัติงานได้อย่างชาญฉลาด โดยเทคโนโลยีอัจฉริยะเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายในการจัดงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ ทั้งในด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การอำนวยความสะดวก ความปลอดภัยของผู้ร่วมชมงานและควบคุมดูแลรักษาระบบความปลอดภัย

ซีเมนส์ เป็นพาร์ทเนอร์ระดับพรีเมียร์ของงานเอ็กซ์โป 2020 ดูไบ มีบทบาทสำคัญในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นดิจิทัลโดยการนำระบบการจัดการอาคารดิจิทัล Desigo CC มาติดตั้งใช้งานทั่วทั้งงาน โดยครอบคลุมในแต่ละโซนการจัดงาน (ได้แก่ โซน Mobility โซน Opportunity และโซน Sustainability) รวมถึงศูนย์การจัดแสดงนวัตกรรมของประเทศต่าง ๆ และ Dubai Exhibition Centre โดยระบบจะใช้เซนเซอร์และการวิเคราะห์หลากหลายเพื่อตรวจสอบและควบคุมฟังก์ชันของอาคาร อาทิเช่น  ระบบปรับอากาศ การใช้พลังงาน การควบคุมความสว่าง ลิฟต์ คุณภาพอากาศและระบบส่งสัญญาณเตือนอัคคีภัย

ข้อมูลจากระบบเหล่านี้จะถูกนำมาจัดการและประมวลโดยศูนย์บัญชาการและควบคุมในแต่ละโซนการจัดงาน เพื่อลดการใช้พลังงาน พร้อมอำนวยความสะดวกและดูแลรักษาความปลอดภัยให้ผู้ร่วมงาน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกป้อนเข้าสู่ Siemens Navigator แพลตฟอร์มศูนย์กลางการจัดการข้อมูลบนคลาวด์ เพื่อเชื่อมต่อกับอาคารต่าง ๆ มากกว่า 130 แห่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวซึ่งถือเป็นหนึ่งในการติดตั้งระบบคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อให้ผู้ให้บริการต่าง ๆ สามารถเห็นข้อมูลทั้งหมดและนำมาวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบการใช้พลังงานระหว่างการจัดงานเอ็กซ์โปในครั้งนี้ ด้วยความสามารถของแพลตฟอร์ม MindSphere ที่้ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในงาน ข้อมูลจากเซนเซอร์ เกตเวย์ ระบบและแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งเชื่อมต่อกันจะถูกวิเคราะห์และแสดงผลให้ผู้จัดงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ระบบรักษาความปลอดภัยจะถูกรวมไว้ในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของงานเอ็กซ์โปโดยมีระบบย่อยมากกว่า 20 ระบบ อาทิ ระบบการควบคุมการเข้า-ออกอาคาร ระบบการจัดการอาคาร และระบบป้องกันอัคคีภัย ซึ่งจะถูกรวมไว้ในแพลตฟอร์มที่ป้อนคำสั่งและควบคุมจากส่วนกลาง ทำให้ผู้ดูแลทราบถึงสถานการณ์ภาพรวมและทำการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

คุณสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอ ซีเมนส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “การพัฒนาเมืองอัจฉริยะหรือ Smart City จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 เทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะที่ใช้ในงาน World Expo 2020 Dubai เป็นตัวอย่างการใช้งานจริงของหลากหลายโซลูชันเมืองอัจฉริยะที่ถูกนำมารวมกันเพื่อสร้างเมืองที่มีความยั่งยืน และให้ความสะดวกสบายกับผู้อยู่อาศัย โดยสามารถนำมาต่อยอดหรือเป็นนวัตกรรมต้นแบบสำหรับการวางแผนงานเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย”

ซีเมนส์มีประสบการณ์ในด้านการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของสถานที่สำคัญให้เป็นดิจิทัลมาอย่างยาวนานทั่วทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น ท่าอากาศยานนานชาติดูไบ โรงละครโอเปราดูไบ และมัสยิด Sheikh Zayed ของอาบูดาบี ที่เลือกใช้เทคโนโลยีจากซีเมนส์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน

แหล่งข้อมูล

  • Siemens at Expo 2020 Dubai
  • MindSphere  แพลตฟอร์มการบริการ IoT ภาคอุตสาหกรรม
  • Navigator แพลตฟอร์มบนคลาวด์สำหรับวิเคราะห์การใช้พลังงานเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร
  • Desigo CC  ระบบการจัดการอาคารอัจฉริยะ

เกี่ยวกับซีเมนส์

ซีเมนส์ เอจี (เบอร์ลินและมิวนิค) เป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ ทางด้านอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง และการดูแลสุขภาพ ธุรกิจของบริษัทฯ ครอบคลุมตั้งแต่การจัดการทรัพยากรในโรงงาน การบริหารห่วงโซ่อุปทาน ระบบอาคารอัจฉริยะและระบบโครงข่ายไฟฟ้า ไปจนถึงการขนส่งที่ใช้พลังงานสะอาด และการดูแลสุขภาพขั้นสูง บริษัทฯ พัฒนาเทคโนโลยีด้วยวัตถุประสงค์เพื่อมอบคุณค่าที่แท้จริงแก่ลูกค้า ซีเมนส์ช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมและตลาด เพื่อยกระดับการใช้ชีวิตของคนนับพันล้านโดยผสานโลกความจริงและโลกดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกัน ซีเมนส์เป็นผู้ถือหุ้นหลักในซีเมนส์ เฮลทิเนียร์ส ผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีการแพทย์และบริการดูแลสุขภาพดิจิทัล นอกเหนือจากนั้น ซีเมนส์ยังเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยใน ซีเมนส์ เอนเนอร์ยี่ ผู้นำระดับโลกในด้านการผลิตและนำส่งพลังงานไฟฟ้า


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

“การจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ” ช่วยสร้างความยั่งยืนแก่ธุรกิจและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


โดย นางสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอ ซีเมนส์ ประเทศไทย

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงวันนี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงไปยังทุกภาคส่วน ภาครัฐและเอกชนต่างมุ่งจัดการปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ล้วนเป็นเรื่องเร่งด่วนในทุก ๆ ด้าน อย่างไรก็ตามเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและสิ่งแวดล้อม” เป็นอีกปัญหาใหญ่ที่ต้องได้รับการจัดการอย่างเร่งด่วนเช่นกัน จากเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยและมีความรุนแรงมากขึ้น อันเป็นผลจากสภาวะโลกร้อนในหลายประเทศทุกภูมิภาคทั่วโลก

แท้จริงแล้วภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญต่อประเด็นนี้ เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ใช้พลังงานมากถึงหนึ่งในสามของการใช้พลังงานทั้งหมดในโลก ซึ่งเทคโนโลยีการจัดการพลังงานไฟฟ้าที่ก้าวหน้าไปมากในปัจจุบันช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมมีส่วนสำคัญช่วยลดสภาวะโลกร้อนโดยอาศัยการจัดการพลังงานอย่างชาญฉลาดด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว

การจัดการพลังงานไฟฟ้าสำหรับภาคอุตสาหกรรมมีส่วนช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้อย่างไร

เรามาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญซึ่งทุกภาคส่วนเห็นร่วมกันชัดเจนถึงความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ในขณะที่ภาคส่วนอื่น ๆ อาทิ การผลิตพลังงานไฟฟ้า การเกษตร และการบริโภคในครัวเรือน ได้เริ่มลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาระดับหนึ่งแล้ว แต่ภาคอุตสาหกรรมนั้นแทบจะไม่มีการปรับเปลี่ยนเลย แม้แต่ในประเทศเยอรมนีที่เป็นผู้นำในโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่เองก็ตาม

เพื่อจัดการปัญหานี้ ซีเมนส์เห็นแนวทางขับเคลื่อนสำคัญ 3 ประการที่จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

  • 1. การสร้างความยืดหยุ่นในการนำพลังงานมาใช้ เช่น การใช้โซลูชั่นการกักเก็บพลังงานและการใช้ระบบโรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plants : VPP)
  • 2. การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เป็นดิจิทัล เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถทำได้โดยการติดตั้งอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) เซ็นเซอร์ และซอฟต์แวร์ควบคุม
  • 3. การนำการจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Electrification) มาใช้ ในการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกกระบวนการทำงาน

จากสามแนวทางข้างต้น “การจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ” เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งยังสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดจากปัจจัยการขับเคลื่อนที่เหลือ

ในการจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะนั้น มี 2 ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ หนึ่ง – ความเป็นไปได้ที่จะนำพลังงานสะอาด ซึ่งไม่มีการปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อมมาป้อนเข้าสู่สถานประกอบการอุตสาหกรรม อาทิ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และ สอง – การจัดการพลังงานของสถานประกอบการอุตสาหกรรม เช่น การจัดการความต้องการใช้พลังงานด้วยซอฟต์แวร์ เป็นต้น

เหตุผลที่การจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะมีผลอย่างมากต่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็คือ เมื่อจัดการการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้สามารถเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้โดยไม่ก่อมลภาวะ แทนที่การผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีแบบเดิม เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานดีเซลที่มีการก่อมลภาวะสูง

การจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพคือ “หัวใจสำคัญ” ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรม

กรณีศึกษาจากบริษัท Gestamp ผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะยานยนต์ในสเปนซึ่งมีหลายกระบวนการผลิตที่ต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมากแต่ขาดข้อมูลการใช้พลังงานที่ชัดเจนทำให้โรงงานต้องเผชิญกับค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

แต่ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์มาตรวัดพลังงานและการใช้โซลูชันการสื่อสารรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่จากโรงงาน 15 แห่งใน 6 ประเทศแล้วนำมาวิเคราะห์ Gestamp สามารถระบุจุดที่เป็นปัญหาและปรับปรุงการดำเนินงาน ทำให้สามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงถึง 15 เปอร์เซ็นต์และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 14,000 ตันต่อปี

การจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะช่วยให้การผลิตมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ช่วยในบริหารรอบการทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต นอกเหนือจากนั้นยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของภาคอุตสาหกรรม พร้อมเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ในการนำพลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันการจัดการพลังงานไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงทำได้ง่ายขึ้น ด้วยการปรับกระบวนการจัดการให้เป็นระบบดิจิทัล (Digitalization) และนำการจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Electrification) มาใช้ ผลที่ตามมาไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน แต่ยังเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินงานและทำให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด

ยิ่งไปกว่านั้น การปรับกระบวนการทำงานเป็นระบบดิจิทัล (Digitalization) ทำให้เราสามารถพัฒนาระบบดิจิทัลทวิน (Digital Twin) สำหรับระบบไฟฟ้าของโรงงานได้ และเมื่อควบรวมกับระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม ผู้วางระบบงานสามารถทดสอบการจำลองสถานการณ์การทำงานต่าง ๆ เพื่อหาจุดที่เหมาะสมที่สุดในการวางระบบงาน เพื่อลดความผิดพลาดและลดต้นทุนในการวางแผนงาน การก่อสร้าง และการบำรุงรักษา

วิกฤติการณ์การแพร่ระบาดทำให้เราต้องพิจารณาอีกครั้งเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานทางธุรกิจของเรา สำหรับอุตสาหกรรม ถึงเวลาแล้วที่จะสร้างรากฐานธุรกิจในอนาคตด้วยการผสมผสานการจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะเข้ากับแผนงานของกิจการ ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่ใช่แค่ตัวเลขทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน ครอบคลุม ตั้งแต่ลูกค้า ชุมชน ประเทศ ไปจนถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมในโลกของเราด้วย

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:

เกี่ยวกับซีเมนส์

ซีเมนส์ เอจี (เบอร์ลินและมิวนิค) เป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกที่มีชื่อเสียงมายาวนานกว่า 170 ปีในด้านวิศวกรรม นวัตกรรม คุณภาพและความน่าเชื่อถือ บริษัทมีความเชี่ยวชาญในการจัดการพลังงานหลากหลายรูปแบบ ระบบออโตเมชั่นและดิจิทัลไลเซชั่นสำหรับภาคอุตสาหกรรม และ ระบบโครงสร้างอัจฉริยะสำหรับอาคาร โดยเน้นการผสานเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่องค์กรธุรกิจและสังคมโดยรวม นอกจากนี้ยังมีซีเมนส์ โมบิลิตี้ ผู้นำโซลูชั่นคมนาคมทางรางและทางบก

ที่มีบทบาทสำคัญในการพลิกโฉมตลาดด้านบริการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า และด้วยซีเมนส์เป็นผู้ถือหุ้นหลักในซีเมนส์ เฮลทิเนียร์ส เราจึงเป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีการแพทย์และบริการดูแลสุขภาพดิจิทัล นอกเหนือจากนั้น ซีเมนส์ยังเป็นผู้ถือหุ้นใน ซีเมนส์ เอนเนอร์ยี่ ผู้นำด้านการผลิตและนำส่งพลังงานไฟฟ้าระดับโลกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ 28 กันยายน ปี 2563

ในปีงบประมาณ 2563 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อ 30 กันยายน 2563 ซีเมนส์มีพนักงาน 293,000 คนทั่วโลก กลุ่มธุรกิจของซีเมนส์สร้างรายได้ 57.1 พันล้านยูโร และมีผลกำไร 4.2 พันล้านยูโร

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.siemens.com


Exit mobile version